กัญชาและเมลาโทนิน: การผสม THC กับเมลาโทนิน เพื่อการนอนหลับปลอดภัยหรือไม่

Admin
Written by Review Weed Cannabis & Health Enthusiast
Updated: 2023-09-29
การใช้กัญชากับเมลาโทนิน

Table of Contents

พืชกัญชาและฮอร์โมนเมลาโทนินเป็นสารสองชนิดที่มีความแตกต่างกัน แต่ทั้งคู่ส่งผลต่อการนอนหลับเหมือนกัน

หลายคนใช้กัญชาเพื่อบรรเทาอาการนอนไม่หลับและเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น ในทำนองเดียวกัน เมลาโทนินมีจำหน่ายที่เคาน์เตอร์ทั่วไป ดังนั้นการเห็นผู้คนใช้ยานอนหลับเหล่านี้ร่วมกันจึงไม่น่าแปลกใจนัก

แต่คำถาม คือ กัญชาผสมกับเมลาโทนินได้ไหม? ปลอดภัยหรือเปล่า?

ตอบสั้น ๆ ได้เลยว่าขึ้นอยู่กับแต่ละคน การผสมกันในปริมาณที่พอเหมาะอาจปลอดภัย แต่การทำจนติดเป็นนิสัยอาจส่งผลเสียต่อวงจรการนอนหลับตามธรรมชาติของคุณ

บทความนี้เราจะมาสำรวจความสัมพันธ์นี้อย่างละเอียด เราจะช่วยวาดภาพให้ชัดเจนขึ้นว่ากัญชาและเมลาโทนินทำงานร่วมกันได้อย่างไร พร้อมแนะนำคุณในการใช้ทั้งสองอย่างอย่างมีความรับผิดชอบ

เมลาโทนิน (melatonin) คืออะไร

เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายของเราผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ

ต่อมไพเนียล (Pineal) เป็นต่อมขนาดเล็กขนาดเท่าเมล็ดถั่ว อยู่ตรงกลางสมอง ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน แม้ว่าเมลาโทนินจะมีความเกี่ยวข้องกับการนอนหลับมากที่สุด แต่เมลาโทนินยังควบคุมนาฬิกาภายในร่างกายของเราอีกด้วย ซึ่งเรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm)

เมลาโทนินช่วยเรื่องการนอนหลับได้อย่างไร

เมลาโทนินจะบอกร่างกายของคุณว่าถึงเวลาพักผ่อนและเตรียมพร้อมสำหรับการนอนหลับได้แล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแสงในห้องด้วย

ร่างกายของเราเข้าใจได้เองโดยธรรมชาติว่า เมื่อถึงเวลาตื่นและเวลานอน ในตอนกลางวัน เมื่อเราเห็นแสงแดด สมองของเราจะรู้ว่าเป็นเวลากลางวัน และทำให้เราลืมตาตื่นและตื่นตัว แต่ในตอนเย็นเมื่อเราเห็นแสงสีแดง (เช่นช่วงพระอาทิตย์ตก) สมองของเราจะปล่อยเมลาโทนิน เพื่อช่วยให้เรานอนหลับ

ฮอร์โมนไม่ได้ทำให้คุณสลบเหมือนยานอนหลับ มันจะผลักร่างกายเข้าสู่การนอนหลับ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เพื่อพักผ่อน ยิ่งถ้าร่างกายของคุณมีเมลาโทนินมากเท่าไหร่ คุณก็จะรู้สึกง่วงนอนมากขึ้นเท่านั้น

การผลิตเมลาโทนินจะสูงสุดในตอนกลางคืนและต่ำสุดในตอนกลางวัน

นอกเหนือจากการควบคุมวงจรการนอนหลับของเราแล้ว เมลาโทนินยังมีส่วนร่วมในกระบวนการทางร่างกายต่อไปนี้:

  • ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย: เมลาโทนินช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้อุณหภูมิแกนกลางลดลงเล็กน้อย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการเริ่มง่วงนอน
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ: เมลาโทนินมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์ของเราจากความเสียหายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน: การวิจัยชี้ให้เห็นว่าเมลาโทนินสามารถมีอิทธิพลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจมีผลในการช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้
  • สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด: เชื่อว่าเมลาโทนินมีส่วนในสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด แม้ว่าจะยังมีการสำรวจกลไกที่แน่นอนเหล่านี้อยู่
  • การควบคุมอารมณ์: การศึกษาบางชิ้นระบุว่าเมลาโทนินอาจมีผลต่อการควบคุมอารมณ์ แต่ทั้งนี้ ในส่วนนี้ยังคงมีการวิจัยเพิ่มเติมกันอยู่ เพื่อผลที่แน่นอน

ใครที่ควรใช้เมลาโทนิน

อาหารเสริมเมลาโทนินมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาในเรื่องการนอนหลับ เนื่องจากวิถีชีวิตสมัยใหม่ สามารถช่วยผู้ที่:

  • ต่อสู้กับความผิดปกติของการนอน รวมถึงอาการนอนไม่หลับ และกลุ่มอาการระยะการนอนหลับล่าช้า
  • ทำงานกะกลางคืน เพื่อให้นอนหลับได้ดีขึ้นในระหว่างวัน
  • เดินทางข้ามเขตเวลาต่าง ๆ เนื่องจากสามารถช่วยป้องกันอาการ jet lag ได้
  • เป็นผู้ใหญ่สูงวัย เนื่องจากการผลิตเมลาโทนินตามธรรมชาติของร่างกายอาจช้าลงตามกาลเวลา

ก่อนมีไฟฟ้าและบ้านเรือนสมัยใหม่ ร่างกายของเราอาศัยแสงธรรมชาติในกิจกรรมส่วนใหญ่ของเรา ซึ่งหมายความว่า เมลาโทนินถูกปล่อยออกมาในเวลาที่ควรในตอนกลางคืน และลดลงในตอนเช้า

แต่ตอนนี้ด้วยแสงประดิษฐ์และหน้าจอ ร่างกายของเราอาจเกิดความสับสนได้ เราอาจตื่นสายเกินไปเพราะแสงสีฟ้าจากโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งมันหลอกสมองของเราให้คิดว่ายังเป็นเวลากลางวัน ซึ่งหมายความว่าจะไม่พบการหลั่งของเมลาโทนิน แม้ว่าจะเป็นเวลากลางคืนก็ตาม

กัญชาช่วยให้นอนหลับได้อย่างไร

กัญชามีประวัติอันอันยาวนานในการใช้เป็นอาหารเสริมการนอนหลับ การวิจัยแสดงให้เห็นว่ากัญชาส่งผลต่อการนอนหลับด้วยวิธีดังต่อไปนี้:

  • หลับเร็วขึ้น: กัญชาอาจช่วยลดเวลาที่ใช้ในการหลับ หรือที่เรียกว่า เวลาแฝงในการหลับได้ สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับหรือมีปัญหาในการนอนหลับอื่น ๆ ได้
  • มีเวลาในการนอนหลับลึกมากขึ้น: งานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่ากัญชาสามารถเพิ่มเวลาที่ใช้ในขั้นตอนการหลับลึก ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญสำหรับการพักผ่อนและการฟื้นตัวได้มากขึ้น
  • การนอนช่วง REM ลดลง: กัญชาอาจลดการนอนหลับช่วง REM ลง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ความฝันส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงนี้ สิ่งนี้ทำให้ความฝันและการฝันร้ายลดลง เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทุกข์ทรมานจากฝันร้ายที่เกี่ยวข้องกับ PTSD
  • คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น: กัญชาสามารถปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับโดยรวมให้ดีขั้นได้ในทางอ้อมโดยการบรรเทาสถานการณ์ที่รบกวนการนอนหลับ เช่น ความเจ็บปวด หรือความวิตกกังวล

ณ จุดนี้ สิ่งสำคัญคือ ต้องเข้าใจก่อนว่าสารประกอบหลัก 2 ชนิดของกัญชาอย่าง THC (tetrahydrocannabinol) และ CBD (cannabidiol) จะส่งผลต่อวงจรการนอนหลับที่ต่างกัน

THC คือ สิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นเมื่อคุณเสพกัญชา แม้ว่าจะช่วยเรื่องการนอนหลับได้เป็นอย่างมาก แต่ก็แสดงให้เห็นว่าส่งผลต่อโครงสร้างการนอนหลับด้วยการใช้งานในระยะยาว และนำไปสู่การพึ่งพาละการถอนยา

ในขณะเดียวกัน CBD นั้นไม่ออกฤทธิ์ทางจิต ไม่เสพติด และถือว่าปลอดภัยในทุกขนาดการใช้ ผลกระทบของ CBD ต่อการนอนหลับดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพไม่เท่ากับ THC แต่มันแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการส่งเสริมรูปแบบการนอนหลับที่ดีได้เช่นกัน

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อผสมเมลาโทนินกับกัญชา

การผสมผสานเมลาโทนินเข้ากับกัญชา ก็สามารถมองได้ว่าเป็นความพยายามแบบองค์รวมในการจัดการปัญหาการนอนหลับ ถ้าคุณใช้มันอย่างมีความรับผิดชอบก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรมากนัก

อย่างไรก็ตาม ส่วนผสมจะส่งผลต่อจังหวะการนอนและโครงสร้างการนอนได้ หากคุณใช้ทั้งสองอย่างในปริมาณมากโดยปราศจากความคิดที่รอบคอบ ซึ่งจะไม่ดีต่อวงจรการนอนหลับของคุณในระยะยาวได้

การผสมกัญชากับเมลาโทนิน อาจทำให้ง่วงนอนและกดประสาทมากขึ้น และการใช้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับได้

การทำปฏิกิริยาระหว่างเมลาโทนินและกัญชานั้นซับซ้อน และจำเป็นต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ สมควรได้รับแนวทางที่ระมัดระวัง และนี่คือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้:

เพิ่มการนอนหลับและระงับประสาท

กัญชากระตุ้นการผลิตเมลาโทนินในสมองของคุณ เมื่อใช้ร่วมกับเมลาโทนินจากภายนอก อาจทำให้การนอนหลับดีขึ้นได้สำหรับบางคน โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับอย่างรุนแรง หรือมีความผิดปกติของการนอนหลับในรูปแบบอื่น ๆ

เพิ่มอาการง่วงนอน

กัญชาและเมลาโทนินทำให้ง่วงนอนได้โดยธรรมชาติ ระดับที่สูงขึ้นในระบบร่างกายของคุณอาจทำให้ง่วงนอนมากเกินไป คลื่นไส้ หรือง่วงซึม เมื่อตื่นนอน

เพิ่มภาพหลอนขณะหลับตา

กัญชาทำให้คุณฝันน้อยลง เนื่องจากมันช่วยลดช่วง REM sleep ในทางกลับกัน เมลาโทนินจะเพิ่มการนอนหลับช่วง REM และสามารถทำให้เกิดความฝันที่เพิ่มขึ้นและรุนแรงได้ นี่เป็นเพราะเมลาโทนินปล่อยโปรตีนที่เรียกว่า Vasotocin (วาโซโทซิน) ซึ่งควบคุมการนอนหลับช่วง REM

การรวมสองสิ่งเข้าด้วยกัน อาจรบกวนวงจร REM ของคุณ และนำไปสู่อาการประสาทหลอนในขณะที่คุณนอนหลับได้ ขอบเขตทั้งหมดของไดนามิกนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษา

อาจกล่าวได้ว่า เมื่อคุณใช้สารสองชนิดที่มีผลตรงกันข้ามกับความฝันของคุณ ผลลัพธ์อาจคาดเดาไม่ได้ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ

กล่าวโดยสรุป คือ การทานเมลาโทนินและกัญชาร่วมกันหมายถึงการนอนที่มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเหนื่อย เซื่องซึม ง่วงนอน และมีความฝันที่มากขึ้น

ควรใช้เมลาโทนินในปริมาณมากแค่ไหน

ปริมาณเมลาโทนินที่แนะนำมีตั้งแต่ 0.5 มก. ถึง 5 มก. สำหรับผู้ใหญ่

การหาปริมาณเมลาโทนินที่เหมาะสมดูจะค่อนข้างยาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ ปัญหาการนอน และสุขภาพโดยรวม

คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่คือ ให้เริ่มด้วยปริมาณที่น้อยก่อน โดยทั่วไปประมาณ 0.5 ถึง 1 มก. รับประทานประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนนอน

หากยังคงเผชิญกับปัญหาการนอนหลับอยู่ ให้เพิ่มขนาดยาทีละน้อย แต่อย่าเกินขนาด 5 มก. โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน

ใช้เมลาโทนินกับ CBD

ด้วยตัวของมันเอง cannabidiol ไม่ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับอย่างมากเหมือนกับ THC เมื่อจับคู่กับเมลาโทนินแล้ว CBD อาจให้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับหลายประการ

ความเข้มข้นของการระงับประสาทและความง่วงนอนอาจไม่ชัดเจนเท่ากับ THC มันจะช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น แต่ผลลัพธ์ต่าง ๆ เช่น ความฝันที่มากขึ้น ความมึนงง หรือความเหนื่อยล้า อาจไม่พบจากการใช้ CBD

นอกจากนี้ CBD ยังมีความปลอดภัยที่ดี แม้ว่าจะมีผลข้างเคียงบ้าง แต่ก็ไม่รุนแรงเท่า THC นั่นคือเหตุผลที่หลายคนใช้นำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ของกัญชา โดยมุ่งเน้นไปที่ cannabidiol

นี่คือเหตุผลที่หลายยี่ห้อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเมลาโทนินที่มี CBD แทนที่จะเป็น THC

ผลข้างเคียงของกัญชาและเมลาโทนิน

กัญชามีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับเมลาโทนิน เมื่อนำสารทั้งสองมารวมกัน คุณอาจพบสิ่งต่อไปนี้:

  • วิงเวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • ปวดศีรษะ
  • อาการง่วงนอน หรือ งัวเงียเมื่อตื่นนอน
  • ความฝันที่เพิ่มขึ้นและฝันร้าย
  • ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
  • มีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน หากได้รับในปริมาณที่สูง

เช่นเดียวกับสารอื่น ๆ ผลของการผสมเมลาโทนินและกัญชาจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ไม่ใช่ทุกคนที่อาจพบผลข้างเคียงเหล่านี้

ระบบของทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและจะมีปฏิกิริยากับกัญชาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ, ปริมาณ, สุขภาพโดยรวม, ความทนทานต่อกัญชา และการมีความผิดปกติของการนอนหลับ ล้วนมีอิทธิพลต่อการตอบสนองของบุคคลต่อการผสมกันของทั้งสองตัวนี้

แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด สำหรับการใช้เมลาโทนินและกัญชาร่วมกัน

หากคุณกำลังคิดที่จะใช้เมลาโทนินและกัญชาเพื่อช่วยในการนอนหลับ ให้ทำดังต่อไปนี้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด:

  • ปรึกษาแพทย์ก่อน: ปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะผสมกัญชากับยาใด ๆ รวมถึงเมลาโทนิน พวกเขาสามารถให้คำแนะนำส่วนบุคคลตามประวัติสุขภาพและยาปัจจุบันของคุณได้
  • เริ่มต้นด้วยปริมาณที่น้อย: เริ่มต้นด้วยปริมาณเมลาโทนินและกัญชาในปริมาณที่น้อย เพื่อดูว่าร่างกายมีปฏิกิริยาอย่างไร ค่อย ๆ ปรับตามความจำเป็น จำไว้ว่ายิ่งน้อยยิ่งดีสำหรับสารทั้งสอง
  • ติดตามปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น: ให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิดว่าหลังจากการผสมนี้แล้ว มันส่งผลต่อคุณอย่างไร ติดตามการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการนอนหลับ, อารมณ์ หรือความเป็นอยู่โดยรวม หยุดใช้ผลิตภัณฑ์และปรึกษาแพทย์ หากสังเกตเห็นอาการไม่พึงประสงค์ขึ้น
  • รักษาสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี: การใช้เมลาโทนินและกัญชาควรเป็นการเสริม ไม่ใช่การแทนที่ หลักปฏิบัติด้านสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี ซึ่งรวมถึงการรักษาตารางเวลาการนอนหลับให้เป็นปกติ สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อการนอนหลับ, หลีกเลี่ยงหน้าจอ และคาเฟอีนก่อนนอน
  • ใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพดี: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์กัญชาและเมลาโทนินที่คุณใช้มีคุณภาพสูง มองหาแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ตรวจสอบการทดสอบของบุคคลภายนอก และเลือกใช้กัญชาออร์แกนิคที่ปราศจากยาฆ่าแมลง หากเป็นไปได้

บทสรุป

แม้ว่าเมลาโทนินและกัญชาร่วมกันอาจช่วยให้บางคนนอนหลับได้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ทางออกเดียวที่เหมาะกับทุกคน ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มการเดินทางนี้

หากการนำมาใช้เพื่อเป็นวิธีสนับสนุนกิจวัตรการนอนหลับและทำให้วงจรการนอนหลับกลับมาเป็นปกติ อาจเป็นสิ่งที่ดี อย่างไรก็ตาม การใช้ในปริมาณมากทุกวันอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามและส่งผลเสียต่อโครงสร้างการนอนหลับได้

การวิจัยในเรื่องนี้ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องว่ากัญชาและเมลาโทนินทำงานร่วมกันอย่างไรในร่างกาย นอกจากนี้ การตอบสนองส่วนบุคคลจะแตกต่างกันไป และคุณควรตระหนักว่าชุดค่าผสมนี้ส่งผลต่อคุณอย่างไรด้วยเช่นกัน

การนอนหลับที่ดีเป็นมากกว่าแค่อาหารเสริมหรือยาที่เหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการรักษานิสัยการนอนให้มีสุขภาพดีและแก้ปัญหาที่อาจรบกวนการนอนของคุณได้