วิธีปลูกกัญชาระบบปิด (indoor): คู่มือที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการปลูกกัญชาในร่ม

Admin
Written by Review Weed Cannabis & Health Enthusiast
Updated: 2024-01-11
คำแนะนำในการปลูกกัญชาระบบปิด (Indoor)

Table of Contents

การปลูกกัญชาระบบปิด (indoor) มีข้อดีหลายประการ รวมถึงการควบคุมสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเติบโตของต้นกัญชา เพิ่มความเป็นสัดเป็นส่วน และสามารถการปลูกได้ตลอดทั้งปี เป็นผลให้การปลูกในระบบปิดเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้เพาะปลูกที่กำลังมองหากัญชาคุณภาพสูง

ในคู่มือนี้ เราจะพูดถึงทุกอย่างตั้งแต่การเลือกสายพันธุ์ที่กัญชาเหมาะสมที่สุด ไปจนถึงการจัดพื้นที่ปลูก การปรับแสงสว่างให้เหมาะสม กิจวัตรการรดน้ำ และการเก็บเกี่ยวดอกในท้ายที่สุด

เราจะให้ความรู้และเคล็ดลับที่จำเป็นในการปลูกกัญชาทางการแพทย์คุณภาพเยี่ยมในบ้านของคุณ

สิ่งที่ควรรู้

การเริ่มปลูกกัญชาในระบบปิด (indoor) มีสิ่งที่ควรรู้ ดังนี้

ประการแรก เนื่องจากไม่มีแสงแดดธรรมชาติ คุณจะต้องใช้อาศัยการจัดแสงขึ้นมา เพื่อเลียนแบบดวงอาทิตย์

จากนั้น จะต้องมีการเตรียมสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น สถานที่ปลูก ความอบอุ่นหรือความชื้น อากาศที่ไหลเวียน และปุ๋ย (สารอาหาร) ที่ต้องเติมให้ต้นกัญชา การเลือกประเภทกัญชาที่เหมาะสม กระถางที่ดีที่สุด และเวลาในการให้น้ำก็มีความสำคัญเช่นกัน หากคุณทำได้ทุกอย่างที่กล่าวมานี้ คุณจะได้ต้นกัญชาที่เติบโตและมีสุขภาพดี

การปลูกกัญชาระบบปืด (Indoor) ต้องคำนึงถึงสถานที่ แสงสว่าง การระบายอากาศ ความชื้น และพื้นที่ปลูก
การวางแผนปลูกกัญชาระบบปิด (Indoor) มีปัจจัยที่ควรคำนึงถึงดังนี้

ด้านล่างนี้คือส่วนที่เป็นรายละเอียดที่ควรรู้

สถานที่ปลูก

การเลือกสถานที่ปลูกในระบบปิด (indoor) ให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ หากต้องการปลูกกัญชาให้ประสบความสำเร็จ พื้นที่ปลูกในแต่ละแห่งจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้น ให้พิจารณาถึงความต้องการและความชอบส่วนตัวของคุณ เพื่อประสบการณ์การเพาะปลูกกัญชาในร่มหรือระบบปิดที่ประสบความสำเร็จ

เหล่านี้คือ กุญแจสำคัญที่ผู้เพาะปลูกควรรู้:

  • ขนาดพื้นที่: ตรวจสอบพื้นที่ปลูกว่ามีเพียงพอสำหรับต้นกัญชา อุปกรณ์ และความสะดวกในการทำงาน ขนาดพื้นที่จะเป็นตัวกำหนดความจุของต้นกัญชา
  • การระบายอากาศ: ป้องกันความชื้นและความร้อนสะสมด้วยการจัดระบบไหลเวียนอากาศที่เหมาะสม วางแผนการวางตำแหน่งพัดลมดูดอากาศเข้าและออก เพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อราและโรคราน้ำค้าง
  • แสงสว่าง: ตรวจสอบพื้นที่รองรับระบบไฟส่องสว่างที่เลือก (HID, LED หรือ CFL) ในระยะที่เหมาะสมเพื่อความเข้มของแสงที่เหมาะสมที่สุด
  • ระบบไฟฟ้า: ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีปลั๊กไฟและความจุเพียงพอสำหรับไฟ พัดลม และอุปกรณ์ พร้อมกับเตรียมอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากหรือวงจรพิเศษด้วย
  • ความเป็นสัดส่วน/ความปลอดภัย: เลือกสถานที่ปลูกอย่างรอบคอบพร้อมมาตรการรักษาความปลอดภัย หากจำเป็น เพื่อปกป้องกัญชาของคุณ
  • แหล่งน้ำ: พื้นที่ปลูกควรเข้าถึงน้ำได้ง่าย เพื่อการวางแผนการรดน้ำปกติและระบบอัตโนมัติ

เต็นท์ปลูก

เต็นท์ปลูกก็เหมือนกับบ้านหลังพิเศษสำหรับปลูกกัญชาระบบปิด (indoor) เป็นสิ่งที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกและปิดมิดชิดซึ่งช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเจริญเติบโตของพืชกัญชาได้ เต็นท์ทำจากผ้าที่สะท้อนแสง เก็บไว้ข้างในและช่วยให้ต้นกัญชาดูดซับแสงได้

นอกจากนี้ ยังมีซิปและช่องระบายอากาศ เพื่อให้อากาศเข้าถึงและระบายอากาศได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถติดตั้งไฟ พัดลม และตัวกรองภายในเต็นท์ เพื่อจำลองแสงแดด อากาศบริสุทธิ์ และสภาวะอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงอีกด้วย

การควบคุมความชื้นในอากาศ

สุขภาพและการเจริญเติบโตของพืชกัญชาขึ้นอยู่กับการรักษาความชื้นในอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่ปลูกในระบบปิด (indoor) และนี่คือเป้าหมายที่ต้องกำหนดในแต่ละระยะของการเติบโต:

  • ระยะงอก (Germination stage):

ความชื้นในอากาศ: 70-90%

อุณหภูมิ: 21-29°C

  • ระยะเพาะเมล็ด (Seedling stage):

ความชื้นในอากาศ: 65-70%

อุณหภูมิ: 21-24°C

  • ระยะเลี้ยงใบ (Vegetative stage):

ความชื้นในอากาศ: 40-70%

อุณหภูมิ: 21-29°C

  • ระยะออกดอก (ช่วงแรก) (Flowering stage):

ความชื้นในอากาศ: 40-50%

อุณหภูมิ: 20-25°C

  • ระยะก่อนตัดดอก (ช่วงท้าย) (Flowering stage):

ความชื้นในอากาศ: 30-40%

อุณหภูมิ: 18-24°C

การใช้เครื่องลดความชื้นในอากาศถือเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการความชื้นและหลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ เช่น การเจริญเติบโตของเชื้อราและตาเน่า ในทำนองเดียวกัน หากต้องการเพิ่มความชื้น เครื่องทำความชื้นก็ทำงานได้อย่างมหัศจรรย์โดยการนำความชื้นกลับคืนสู่อากาศ

สำหรับประเทศไทยเรา เนื่องจากมีสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เครื่องลดความชื้นจึงเป็นสิ่งที่ต้อง หากจะปลูกกัญชาในระบบปิด (indoor) หรือในร่ม

แสงไฟ

เมื่อปลูกกัญชาในระบบปิด (indoor) หรือในร่ม แสงไฟประดิษฐ์จะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักของพืชกัญชา เป็นการจำลองบทบาทสำคัญของดวงอาทิตย์ หมายความว่าการทำความเข้าใจประเภทของแสงไฟและการใช้งาน รอบแสงที่ถูกต้อง รวมถึงระบบอัตโนมัติของวงจรเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการได้มาซึ่งดอกกัญชาคุณภาพ

ประเภทของแสงไฟ

เลือกจากระบบไฟส่องสว่างต่าง ๆ เช่น LED (Light Emitting Diode), HPS (High-Pressure Sodium) และหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์

  • LED (Light Emitting Diode): LED ได้รับการยกย่องในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานและแสงเต็มสเปกตรัม คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้มีความหลากหลายและเหมาะกับทั้งระยะการเจริญเติบโตและระยะการออกดอก
  • HPS (High-Pressure Sodium): เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของแสงที่มีความเข้มสูงและสเปกตรัมสีแดง ไฟ HPS มักถูกเลือกใช้ในระยะออกดอก เพื่อเพิ่มการเติบโตของดอกกัญชา
  • Fluorescent lights (e.g., T5s): ด้วยการทำงานที่เย็นกว่า หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์จึงดีมากเป็นพิเศษสำหรับต้นกล้าและต้นอ่อน ช่วยให้ต้นกัญชาเติบโตโดยไม่ต้องต้องเสี่ยงต่อความเครียดจากความร้อน

รอบแสง

การทำความเข้าใจและการให้รอบแสงที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตของต้นกัญชาคุณภาพ

  • ระยะเลี้ยงใบ (Vegetative phase): โดยปกติแล้ว ต้นกัญชาในระยะเลี้ยงใบควรมีการให้แสงที่ 18 ชั่วโมง ตามมาด้วยช่วงเวลาสั้น ๆ อยู่ที่ 6 ชั่วโมงในความมืด
  • ระยะการออกดอก (Flowering phase): เมื่อถึงระยะการออกดอก ให้ปรับรอบแสงเป็น 12 ชั่วโมง และความมืด 12 ชั่วโมง การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ต้นกัญชาเริ่มผลิตดอกกัญชาออกมา

ตัวจับเวลามีประโยชน์ในเรื่องนี้สำหรับรอบการให้แสงอัตโนมัติ ช่วยให้มั่นใจได้ถึงระยะเวลาการให้แสงที่แม่นยำและสม่ำเสมอสำหรับพืชกัญชาในระยะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ส่งเสริมการเติบโตที่ดีและเพิ่มผลผลิตให้สูงสุดได้

ความเข้มของแสงและระยะทาง

เมื่อต้นกัญชาของเติบโตขึ้น ระยะห่างและความเข้มของแสงอาจต้องมีการปรับเปลี่ยน เพราะหากจัดไฟใกล้เกินไป ต้นกัญชาอาจถูกแสงเผาได้

การวางพวกต้นกัญชาไว้ใกล้เกินไปอาจทำให้ต้นไหม้ได้ แต่การวางไว้ไกลเกินไปอาจทำให้ต้นกัญชาได้รับแสงน้อยลง และขัดขวางการเจริญเติบโตได้เช่นกัน

หากเริ่มสังเกตเห็นใบไม้เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือดูเป็นสีขาว โดยเฉพาะใบที่อยู่ใกล้แสงมากที่สุด แสดงว่าใบกัญชาอาจอยู่ใกล้เกินไปและได้รับความเข้มมากเกินไป กลับกัน หากลำต้นของต้นกัญชาสูงและดูอ่อนแอโดยมีระยะห่างระหว่างใบกว้างขึ้น ลำต้นก็อาจจะยืดออก เพื่อเข้าใกล้แสงมากขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่าแสงอาจอยู่ไกลเกินไป

หลักการทั่วไปที่ดีคือ วางมือไว้ที่ระดับบนสุดของต้นกัญชา หากรู้สึกถึงความร้อนที่มือ แสดงว่าร้อนเกินไปสำหรับต้นกัญชา การตรวจสอบและการปรับเปลี่ยนเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเจริญเติบโต จะช่วยให้พืชกัญชาเจริญเติบโตได้ในสภาพแสงที่ดีที่สุด

การระบายอากาศและการไหลเวียนของอากาศ

คุณเคยอยู่ในห้องอับชื้นไม่มีอากาศถ่ายเทไหม? มันจะรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวสำหรับกัญชา อากาศนิ่งไม่ได้เป็นเพียงความรู้สึกอึดอัดเท่านั้น แต่มันเป็นอันตราย การขาดอากาศไหลเวียนสามารถสร้างแหล่งที่อยู่สำหรับเชื้อรา โรคราน้ำค้าง และแมลงศัตรูพืชได้

ด้านล้างนี้คือ แนวทางการมีสภาพแวดล้อมที่มีการระบายอากาศที่ดี ซึ่งจะช่วยให้คุณปลูกกัญชาระบบปิด (indoor) ได้ดี:

  • อากาศที่ชื้นและนิ่งคือ สนามเด็กเล่นสำหรับเชื้อรา ควรมีการจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้มีการไหลเวียนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ใช่แบบพายุเฮอริเคนอะไรขนาดนั้น ขอเพียงแค่ลมที่พัดอย่างสม่ำเสมอซึ่งจะช่วยให้อากาศสดชื่นและป้องกันความชื้นในโรงเรือนได้
  • การระบายอากาศที่เหมาะสมสามารถช่วยยับยั้งผู้มาเยือนที่ไม่ได้รับเชิญ เช่น เพลี้ยไฟหรือไร การรักษาการไหลเวียนของอากาศที่ดีจะทำให้ภัยคุกคามเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้สงบและแพร่พันธุ์ได้ยากขึ้น
  • การควบคุมกลิ่นเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญของการระบายอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีเพื่อนบ้านจมูกไว ตัวกรองคาร์บอนรวมกับพัดลมจะช่วยหยุดกลิ่นแรงที่ต้นกัญชาสามารถปล่อยออกมาได้ในช่วงออกดอก

ในช่วงของการจัดเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ให้พิจารณาว่าอากาศจะไหลเวียนได้อย่างไร พัดลมดูดอากาศจะนำพาอากาศบริสุทธิ์เข้ามา ในขณะที่พัดลมดูดอากาศช่วยขับของเก่าออกไป นี่ไม่ใช่แค่เรื่องออกซิเจนเท่านั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน CO2 ที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชกัญชาจะหายใจเอา CO2 เข้าไป และปล่อยออกซิเจนออกมา พร้อมหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

การระบายอากาศที่เหมาะสมช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนอากาศ นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สดใหม่เข้ามา และไล่อากาศที่เสียคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป สิ่งนี้จะทำให้พืชกัญชามี CO2 ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

ภาพรวมด้านกฎหมาย: สามารถปลูกกัญชาระบบปิด (indoor) ในประเทศไทยได้หรือไม่

สามารถปลูกได้ การปลูกกัญชาระบบปิดหรือที่บ้าน ในประเทศไทยเป็นเรื่องถูกกฎหมาย กัญชาถูกปลดออกจากยาเสพติดให้โทษแล้ว ในปี 2022 และบทบัญญัติประการหนึ่งคือ การเพาะปลูกส่วนบุคคล

กฎนี้ใช้กับพลเมืองชาวไทยเท่านั้น ประชาชนจะต้องสมัครและลงทะเบียนในแอป Plook Ganja ที่ดำเนินการโดยรัฐบาล เพื่อรับเอกสารที่จำเป็นสำหรับการปลูกในบ้าน

อุปกรณ์จำเป็นสำหรับการปลูกกัญชาระบบปิด (indoor)

นอกเหนือจากเครื่องมือพื้นฐาน เช่น ไฟและพัดลมแล้ว อุปกรณ์หลายชิ้นยังช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมสำหรับกัญชาในระบบปิดได้เป็นอย่างมาก

รายการเครื่องมือที่สามารถช่วยคุณควบคุมสภาพแวดล้อมการปลูกกัญชาในระบบปิดได้ดีขึ้น
พื้นที่ปลูกในระบบปิดหรือในร่ม ต้องมีเครื่องมือเหล่านี้ เพื่อช่วยตรวจสอบสภาพการเจริญเติบโต

เครื่องเพิ่มความชื้น

ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศแห้งหรือในช่วงเดือนที่อากาศเย็น เครื่องทำความชื้นอาจเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยได้ ในระหว่างระยะต้นกล้า (เพาะเมล็ด) และระยะเลี้ยงใบ ต้นกัญชาจะเจริญเติบโตได้เมื่อมีความชื้นที่สูงขึ้น เครื่องทำความชื้นสามารถช่วยรักษาสภาวะที่เหมาะสม

เครื่องลดความชื้น

เมื่อต้นกัญชาเปลี่ยนไปสู่ระยะออกดอก สภาพแวดล้อมที่แห้งจะมีความสำคัญมากขึ้นในการลดความเสี่ยงการเกิดเชื้อราและโรคราน้ำค้าง เครื่องลดความชื้นสามารถลดความชื้นส่วนเกินในห้องปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น

เพื่อให้มีการตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นในพื้นที่ปลูกอย่างสม่ำเสมอ เครื่องมือเหล่านี้จึงมีคุณค่ามาก ๆ อุปกรณ์ดิจิทัลมักจะรวมคุณสมบัติเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน โดยให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่เพาะปลูก

เครื่องวัดค่า pH

ด้วยค่า pH จะทำให้เราเข้าใจส่วนผสมของความเป็นกรดและความเป็นด่างในดิน ซึ่งส่งผลต่อวิธีที่ต้นกัญชาดูดซึมสารอาหาร การตรวจสอบค่า pH เป็นสิ่งสำคัญ หากสูงหรือต่ำเกินไป ต้นกัญชาจะไม่ดูดซับสารอาหารที่จำเป็นส่งผลต่อการเจริญเติบโต

เครื่องวัดค่า pH คุณภาพสูงสามารถอ่านค่าได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้มั่นใจถึงความสมดุลที่เหมาะสมสำหรับพืชกัญชาที่ปลูกไว้

พัดลมชนิดส่าย

จากข้างต้นที่เราได้มีการพูดถึงเรื่องของพัดลมกันมาบ้างแล้ว การมีพัดลมแบบสั่นเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ควรมี เนื่องจากจะช่วยกระจายอากาศได้ทั่วถึงมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีพื้นที่ไหนที่ต้องเผชิญกับอากาศนิ่ง

การเลือกสายพันธุ์กัญชา

พันธุศาสตร์ (ยีน) มีบทบาทสำคัญทั้งในลักษณะและประสิทธิภาพของต้นกัญชา การทำความเข้าใจประเภทพันธุกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดสำหรับกระบวนการปลูกกัญชาระบบปิดของคุณ

เมื่อเลือกสายพันธุ์กัญชาที่จะปลูกในร่มได้แล้ว ให้พิจารณาถึงพันธุกรรม ศักยภาพผลผลิต ขนาด และกลิ่นของกัญชาด้วย
การระบุปัจจัยเหล่านี้สามารถช่วยให้เลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในระบบปิดหรือในร่มได้

พันธุศาสตร์

เมื่อเลือกสายพันธุ์กัญชาสำหรับการปลูกระบบปิด (indoor) แล้ว จากนั้นมาทำความเข้าใจความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่าง Sativa, Indica และ Hybrid

  • สายพันธุ์ซาติวา (Sativa): ขึ้นชื่อในเรื่องของความสดชื่น มีพลัง และลำต้นกัญชามีแนวโน้มไปทางสูงขึ้น
  • สายพันธุ์อินดิกา (Indica): ให้ความผ่อนคลายและโดยทั่วไปมีลำต้นเตี้ยกว่าซาติวา
  • สายพันธุ์ไฮบริด (Hybrid): ผสมผสานลักษณะจากทั้ง 2 อย่างด้านบนเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการผ่อนคลายและพลังงาน

พิจารณาผลกระทบของกัญชาที่ต้องการและพื้นที่ว่างสำหรับการปลูก เมื่อเลือกคุณสมบัติทางพันธุกรรมที่เหมาะกับความต้องการได้แล้ว

สายพันธุ์ Autoflowering

สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือ คุณต้องการสายพันธุ์ที่เป็น Autoflowering หรือเปล่า สายพันธุ์เหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงจากระยะเลี้ยงใบไปสู่การออกดอกได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอาศัยช่วงแสง

สิ่งนี้จะช่วยประหยัดเวลา และลดความซับซ้อนของกระบวนการการเติบโต ทำให้สายพันธุ์ Autoflowering เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ปลูกที่มีพื้นที่จำกัด

ผลผลิตและขนาด

เมื่อคำนึงถึงลักษณะการเจริญเติบโตของต้นกัญชาและผลผลิต บางสายพันธุ์จะให้ดอกที่เล็กและหนาแน่น ในขณะที่บางสายพันธุ์จะให้ดอกที่ใหญ่และโปร่ง คุณควรพิจารณาพื้นที่ที่มีและจำนวนที่ต้องการเก็บเกี่ยวเพราะการเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง สามารถเพิ่มผลผลิตให้กับการปลูกในร่มได้

การควบคุมกลิ่น

การปลูกในระบบปิดหรือในร่ม ควรเลือกสายพันธุ์ที่มีกลิ่นอ่อน ๆ หลีกเลี่ยงสายพันธุ์ที่มีกลิ่นแรงและโดดเด่น หรือลองใช้วิธีการควบคุมกลิ่น เพื่อรักษากลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ขณะที่ปลูกในร่ม

คำแนะนำ

  • สายพันธุ์ไฮบริดที่มี Indica โดดเด่น: หากคุณยังใหม่ต่อการเพาะปลูก ลองพิจารณาสายพันธุ์ไฮบริดที่มี Indica โดดเด่น เช่น Blue Dream เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมและควบคุมได้
  • สายพันธุ์ Autoflowering: Northern Lights เป็นตัวเลือกของสายพันธุ์ Autoflowering ที่ยอดเยี่ยม และเป็นที่รู้จักกันดีว่าปลูกง่ายและให้ผลผลิตดี
  • สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง: ลองเลือกปลูก Girl Scout Cookies สำหรับผู้ที่กำลังมองหาสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง และมีข้อมูลทางพันธุกรรมที่รอบด้าน
  • สายพันธุ์ที่มีกลิ่นไม่แรง: Blue Mystic เป็นสายพันธุ์กลิ่นไม่แรง และเหมาะสำหรับการเพาะปลูกในระบบปิดหรือในร่ม

ทั้งนี้ เราอยากให้ตระหนักไว้ว่ากัญชาแต่ละสายพันธุ์ต้องการสภาพแวดล้อมเพื่อการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การวิจัยและการทดลอง จึงยังเป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาสายพันธุ์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับการปลูกในร่ม

วัสดุปลูก

การเลือกวัสดุปลูกที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญต่อที่จะทำให้ต้นกัญชาเติบโตอย่างแข็งแรง

วัสดุปลูก จะทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารของพืช โดยให้สารอาหารและความชื้นที่เหมาะสม โดยมีตัวเลือกต่าง ๆ ที่ควรพิจารณาเมื่อต้องเลือกวัสดุปลูก ซึ่งแต่ละตัวเลือกจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป

อินโฟกราฟิกแสดงดินทั้ง 6 ประเภทที่ผู้ปลูกกัญชาสามารถใช้ได้
การปลูกกัญชาในระบบปิดหรือในร่ม หมายถึง การควบคุมสภาพแวดล้อมสามารถทำได้มากขึ้น รวมถึงประเภทของดินด้วย

ดิน กับ ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)

ดิน และ ไฮโดรโปนิกส์ เป็นวัสดุปลูก 2 ชนิดที่นิยมใช้เพื่อการปลูกในร่ม

หากจะตัดสินใจเลือกระหว่างระบบที่ใช้ดิน และระบบ Hydroponic จำเป็นที่จะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของแต่ละระบบให้ดี:

ระบบการปลูกแบบใช้ดิน

  • ความพร้อมของธาตุอาหาร: ดินมีสารอาหารหลายชนิดที่พืชกัญชาต้องการในการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ สารอาหารเหล่านี้จะถูกปล่อยออกมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้พืชได้รับปริมาณสารอาหารที่คงที่
  • การทำงานของจุลินทรีย์: ดินได้รับการส่งเสริมในเชิงระบบนิเวศจากจุลินทรีย์ ซึ่งช่วยในการหมุนเวียนสารอาหารและยับยั้งโรค รวมถึงส่งเสริมการเจริญเติบโตให้พืชมีสุขภาพที่ดี
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย: ดินโดยทั่วไปมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับระบบ Hydroponic ทำให้เป็นทางเลือกที่ชาวสวนจำนวนมากเลือกใช้

ระบบการปลูกแบบ Hydroponic

  • ควบคุมสารอาหารได้แม่นยำ: ระบบ Hydroponic ช่วยให้สามารถควบคุมระดับสารอาหารได้อย่างแม่นยำ ทำให้มั่นใจได้ว่าต้นกัญชาจะได้รับสิ่งที่ต้องการ เพื่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสม
  • การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ: ระบบ Hydroponic ใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ดิน ทำให้เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการสูญเสียน้ำ
  • เติบโตอย่างรวดเร็ว : พืชกัญชาในระบบ Hydroponic มักจะเติบโตเร็ว เนื่องจากได้รับสารอาหารโดยตรง และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุมไว้
  • ต้องใช้ต้นทุนและประสบการณ์สูง: ระบบ Hydroponic จะเหมาะสมกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการปลูกกัญชามาก่อน หรือผู้ที่สามารถลงทุนในอุปกรณ์เหล่านี้ได้

ทางเลือกระหว่างระบบที่ใช้ดินและระบบ Hydroponic ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ทรัพยากร และความชอบส่วนบุคคล

วัสดุปลูกอื่น ๆ

นอกเหนือจากดินและ Hydroponic แล้ว ยังมีวัสดุปลูกอื่น ๆ ที่ผู้ปลูกสามารถพิจารณาได้ ได้แก่:

  • ขุยมะพร้าว: ผลิตมาจากเปลือกมะพร้าว เส้นใยธรรมชาตินี้ช่วยในการกักเก็บน้ำและเติมอากาศ ซึ่งเหมาะสำหรับการปลูกทั้งระบบดินและระบบ Hydroponic
  • เพอร์ไลท์ (Perlite) และ เวอร์มิคูไลต์ (Vermiculite): แร่ธาตุเสริมที่ช่วยเพิ่มอากาศและความชื้นในกระถาง โดย Perlite จะช่วยในการระบายน้ำ ส่วน Vermiculite ช่วยกักเก็บน้ำ
  • Rockwool: ฉนวนใยหิน คือ เส้นใยหินบะซอลท์ที่นิยมปลูกในระบบ Hydroponic เนื่องจากช่วยรักษาสมดุลของน้ำและอากาศ และต้องมีการปรับค่า pH
  • พีทมอส (Peat Moss): เป็นวัสดุคล้ายฟองน้ำธรรมชาติ ช่วยกักเก็บความชื้นได้ดี แต่อาจมีสภาพเป็นกรดได้
  • เม็ดดินเผา (Hydroton /LECA): เม็ดดินเผาที่เหมาะสำหรับปลูกในพืชแบบไร้ดิน เนื่องจากช่วยเพิ่มความสมดุลของน้ำและการไหลของอากาศ

ภาชนะปลูก

การเลือกภาชนะที่เหมาะสม ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการปลูกกัญชาในระบบปิดหรือในร่ม ซึ่งมีตั้งแต่กระถางไปจนถึงระบบมืออาชีพ แต่ละประเภทมีคุณประโยชน์ที่ต่างกัน เรามาสำรวจตัวเลือกต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าแบบไหนที่จะดีต่อพืชกัญชา และให้ผลผลิตที่เหมาะสมที่สุด

  • กระถางทั่วไป: มักทำจากพลาสติกหรือดินเผา มีรูปหลายรูปแบบให้เลือก แต่ต้องมีการระบายน้ำที่เหมาะสม
  • กระถางผ้า: กระถางแบบนี้จะช่วยเติมอากาศให้กับรากได้ดีขึ้น และป้องกันไม่ให้มีน้ำมากไป เนื่องจากมีอากาศที่ถ่ายเทได้สะดวก
  • กระถาง Air Pot: กระถางที่ออกแบบให้มีช่องเปิดด้านข้างเพื่อช่วยเพิ่มจำนวนราก และเพิ่มการระบายอากาศ
  • กระถาง Smart Pot: กระถางผ้าที่ช่วยให้รากเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง โดยรากจะไม่คดงอตามรูปกระถาง แต่จะเกาะตัวกับกระถาง
  • ภาชนะปลูก Hydroponic: ใช้สำหรับระบบ Hydroponic ช่วยให้พืชกัญชาเจริญเติบโตได้ในน้ำ หรืออาหารชนิดอื่นที่ไม่ใช่ดิน

พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ เมื่อเลือกภาชนะปลูก:

  • ประเภทกัญชา : ต้นกัญชาชนิดต่าง ๆ มีขนาดรากที่ต่างกัน จึงควรศึกษาความต้องการของพืชกัญชาที่จะปลูก และเลือกภาชนะให้เหมาะสม
  • การเติบโตของราก : ขนาดภาชนะปลูกส่งผลโดยตรงต่อรากพืช ภาชนะขนาดเล็กเกินไปจะจำกัดการเติบโต ในขณะที่ภาชนะขนาดใหญ่เกินไป อาจเสี่ยงต่อการได้น้ำมาก และทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ได้
  • พื้นที่ปลูก : เลือกภาชนะให้เหมาะกับพื้นที่ปลูก หากมีพื้นที่ขนาดกะทัดรัดอาจต้องใช้กระถางขนาดเล็ก แต่พื้นที่ที่กว้างขวางสามารถรองรับกระถางขนาดใหญ่ได้
  • การระบายน้ำ : ตรวจสอบภาชนะปลูกให้มีรูระบายน้ำที่เหมาะสม เพื่อป้องกันน้ำขัง และอาจทำลายรากได้

การจัดการสารอาหาร: กัญชาต้องการอะไรบ้าง

กัญชามีความต้องการสารอาหารที่เปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา ตั้งแต่ต้นกล้า ระยะเลี้ยงใบ และระยะออกดอก การปรับอัตราส่วนของสารอาหารให้เหมาะสม จึงถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี และช่วยเพิ่มผลผลิตสูงสุดได้

คำแนะนำทั่วไป มีดังนี้:

  • ระยะเพาะเมล็ด (Seedling Stage): ในระยะเริ่มแรกนี้ รากที่เปราะบางของกัญชาต้องการการให้อาหารอย่างอ่อนโยน ดังนั้น ควรเลือกใช้สารอาหารที่มีความเข้มข้นต่ำและสมดุล เช่น อัตราส่วน 2-1-1 (NPK) โดยเพิ่มไนโตรเจนอีกเล็กน้อยสำหรับการเติบโตขั้นพื้นฐาน
  • ระยะเลี้ยงใบ (Vegetative Stage): ช่วงนี้จะมีการพัฒนาใบที่เขียวชอุ่ม และรากที่แข็งแรงมากขึ้น การเพิ่มความเข้มข้นของไนโตรเจนที่จึงมีประโยชน์ ดังนั้น อัตราส่วน 3-1-2 (NPK) จะช่วยให้พืชเติบโตได้ดี
  • ระยะออกดอก (Flowering Stage):เมื่อพืชเข้าสู่ระยะออกดอก ลำดับความสำคัญของสารอาหารจะเปลี่ยนไป โดยต้องลดปริมาณไนโตรเจน และเพิ่มฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมเข้าไป โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมเช่น 1-3-4 (NPK) หรือ 0-5-4 (NPK)

นอกเหนือจากอัตราส่วน NPK หลักแล้ว ยังจำเป็นต้องพิจารณาสารอาหารหลักที่สำคัญอื่น ๆ เช่น แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg), และซัลเฟอร์ (S) รวมถึงสารอาหารรองที่จำเป็น เช่น เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) ) ซึ่งมีบทบาทต่อสุขภาพของต้นกัญชาอีกด้วย

การให้สารอาหารในปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาจนำไปสู่การขาดสารอาหาร ทำให้เกิดใบเหลือง แคระแกร็น หรือดอกที่ไม่มีคุณภาพได้ เพื่อให้ได้ต้นกัญชาที่มีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม การตรวจสอบสัญญาณดังกล่าวของพืชอย่างสม่ำเสมอ และปรับระดับสารอาหารให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

อินโฟกราฟิกแสดงสารอาหารที่จำเป็นต่อพืชกัญชา
สารอาหารที่ต้นกัญชาต้องการ – คุณสามารถเตรียมส่วนผสมเองหรือซื้อสารอาหารแบบสำเร็จรูปก็ได้

การซื้อสารอาหารสำเร็จรูป

สารอาหารสำเร็จรูปสำหรับกัญชา หรือที่เรียกว่า Pre-mix เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ที่ออกแบบมาสำหรับแต่ละระยะของการเจริญเติบโต โดยมีลักษณะเป็นของเหลวหรือผง ที่ต้องนำไปผสมกับน้ำก่อนใช้ สารอาหารเหล่านี้ได้รับการกำหนดสูตรอย่างแม่นยำ เพื่อให้แน่ใจว่าพืชจะได้รับสารอาหารที่เหมาะสมในอัตราส่วนที่ถูกต้อง เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ดี และให้ผลผลิตสูง

ผู้ผลิตจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับกำหนดเวลาการให้อาหารโดยละเอียด ถือเป็นวิธีที่สะดวกและเชื่อถือได้ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ปลูกที่ต้องการบำรุงต้นกัญชาตลอดทั้งวงจร

การผสมสารอาหารด้วยตัวเอง

แม้ว่าสารอาหารจากกัญชาสำเร็จรูปจะสะดวก และเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้ แต่ผู้ปลูกบางรายก็เลือกที่จะผสมสารละลายแบบ DIY เพื่อปรับแต่ง และควบคุมส่วนผสมของสารอาหารได้มากขึ้น

การสร้างสารอาหารบำรุงกัญชาด้วยตัวเองเป็นเรื่องที่คุ้มค่า และช่วยให้สามารถควบคุมตามความต้องการได้มากขึ้น แต่ก็ต้องใช้ความรู้และความพยายามมากกว่าการใช้สารอาหารสำเร็จรูป โดยคุณจะต้องใช้ส่วนผสมออร์แกนิคและเศษอาหารในครัว เช่น เปลือกไข่, กากกาแฟ, เกลือ Epsom, เปลือกกล้วย, กระดูกป่น, ก้างปลา ฯลฯ

วิธีดูแลรักษาต้นกัญชาในระบบปิด

การดูแลต้นกัญชาในร่ม มีงานหลายที่ต้องใส่ใจเพื่อช่วยให้ต้นกัญชาเติบโตและแข็งแรง ตั้งแต่การตรวจสอบสภาพแวดล้อมไปจนถึงการจัดการกับสัตว์รบกวน

การตรวจสอบค่า pH

สิ่งสำคัญ คือ การตรวจสอบค่า pH ของน้ำ และสารละลายธาตุอาหารสำหรับต้นกัญชา โดยกัญชาชอบวัสดุปลูกที่ค่อนข้างมีความเป็นกรด

หากคุณใช้ระบบ Hydroponic ควรกำหนด pH ไว้ที่ 5.5 ถึง 6.5 ส่วนดินอยู่ระหว่าง 6.0 ถึง 7.0 การตรวจสอบและการปรับค่า pH ของวัสดุปลูกอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้มั่นใจว่ากัญชาจะดูดซึมสารอาหารได้ดี

การตัดกิ่งที่ตาย และ แต่งกิ่งเพื่อเติบโต

การตัดแต่งให้เป็นระเบียบเป็นสิ่งสำคัญ การกำจัดใบที่ตายแล้วจะช่วยป้องกันสัตว์รบกวน และทำให้ทุกส่วนของพืชได้รับแสงสว่าง และเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ การตัดแต่งกิ่งยังช่วยให้พืชเติบโตในรูปร่างมีสมดุล และช่วยให้ดอกโตขึ้นอีกด้วย

เทคนิคการดัดต้นกัญชา

มีวิธีการดัดต้นกัญชาเพื่อให้เติบโตไปในทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งหากจะเพาะปลูกกัญชาในร่ม

เทคนิคต่าง ๆ เช่น Low-Stress Training (LST) ที่ช่วยดัดรูปร่างของต้นไม้ และทำให้เรามั่นใจได้ว่าต้นกัญชาจะได้รับแสงสว่างที่เพียงพอ วิธีการเหล่านี้สามารถช่วยให้ผู้ปลูกได้ประโยชน์จากต้นกัญชามากขึ้น ในขณะที่ใช้พื้นที่ปลูกที่มีอยู่อย่างจำกัด

การค้ำยันและเพิ่มความมั่นคง

เมื่อต้นกัญชามีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้ปลูกต้องใช้การค้ำยันลำต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นล้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดอกมีน้ำหนักมาก การใช้สิ่งของต่าง ๆ เช่น เสาหรือตาข่าย จะช่วยให้ต้นกัญชาตั้งตรงได้

ตารางการให้อาหาร

ตารางการให้อาหารของต้นกัญชา มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตที่แข็งแรง เนื่องจากแต่ละระยะมีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนี้:

ระยะเพาะเมล็ด (seedling stage) ควรเริ่มด้วยสารละลายธาตุอาหาร 1 ใน 4 ส่วน และค่อย ๆ เพิ่มเมื่อสิ้นสุดระยะเติบโต จากนั้นเปลี่ยนไปใช้สารอาหารที่ช่วยเพิ่มการออกดอกเมื่อเข้าสู่ระยะออกดอก และอย่าลืมให้น้ำเปล่าในสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มรสชาติและป้องกันใบไหม้

การควบคุมศัตรูพืช

สิ่งสำคัญ คือ ต้องตรว­จคอยหาศัตรูพืชโดยการใช้แว่นขยายตั้งแต่เนิ่น ๆ หากพบสัตว์รบกวน ให้จัดการกับพวกมันอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ต้นกัญชาแข็งแรง ซึ่งอาจใช้สิ่งต่าง ๆ เป็นตัวช่วย เช่น น้ำมันใบสะเดา หรือสเปรย์สบู่ฆ่าแมลง เพื่อป้องกันสัตว์รบกวน แต่ต้องแน่ใจว่ามันปลอดภัยสำหรับพืชด้วย

มาตรการด้านความปลอดภัย

ผู้ปลูกไม่ควรละเลยเรื่องความปลอดภัยเมื่อเพาะปลูกกัญชาในร่ม เช่น การติดตั้งระบบควรกำหนดให้ระบบไฟฟ้าอยู่ห่างจากน้ำ และใช้เต้ารับขัดขวางวงจรไฟฟ้า (GFCI) เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงการจัดเก็บยาฆ่าแมลงและสารอาหารให้พ้นมือเด็ก รวมถึงจัดหาถังดับเพลิงไว้ในบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากมีความเสี่ยงจากแสงไฟ, เครื่องทำความร้อน และพัดลม

การเก็บเกี่ยวและการบ่ม

การเก็บเกี่ยวจะเก็บได้ต่อเมื่อไตรโครมส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นและมีสีเหลืองอำพันอยู่บ้าง โดยการใช้กรรไกรฆ่าเชื้อในการตัดช่อดอก หลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ให้เก็บไว้ให้แห้งในบริเวณที่มีความชื้น 50% ที่อุณหภูมิ 70°F (21°C) จากนั้นจึงเก็บใส่ขวดสุญญากาศ วางไว้ในที่เย็นและไม่โดนแสง โดยเปิดขวดทุกวันในช่วงสัปดาห์แรก ๆ

บทสรุป

การปลูกกัญชาในระบบปิด (indoor) เป็นการผสมผสานระหว่างการวางแผนอย่างรอบคอบ และประสบการณ์ ซึ่งต้องหาความสมดุลของอุณหภูมิ, แสง,และสารอาหาร โดยไม่ลืมที่จะตรวจสอบต้นกัญชาเป็นประจำ และปรับสภาพแวดล้อมหากจำเป็น การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้ เช่น ความชื้นและการไหลเวียนของอากาศ ซึ่งก็ถือว่าที่มีบทบาทอย่างมากทีเดียวในเรื่องนี้

การใช้สายพันธุ์กัญชาที่เหมาะกับการปลูกในร่มหรือระบบปิด จะช่วยให้การปลูกง่ายขึ้นมากตั้งแต่เริ่มต้น

จะดีมากหากมีการจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำ เพราะจะทำให้เราสามารถติดตามว่าอะไรได้ผลและอะไรไม่ได้ผลได้ดี

อย่าเพิ่งท้อหากสิ่งต่าง ๆ ออกมาไม่สมบูรณ์อย่างที่ตั้งใจ เพราะทุกการปลูกคือ บทเรียนที่ดี ยิ่งปลูกกัญชามากเท่าไร ก็จะยิ่งเก่งขึ้นมากเท่านั้น และเมื่อเวลาผ่านไป ก็จะเห็นถึงความพยายามของตัวเอง และได้รับรางวัลเป็นกัญชาคุณภาพดีที่ให้ผลผลิตมากขึ้นนั่นเอง