วิธีปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor): คู่มือเบื้องต้นสำหรับการเพาะปลูกกัญชาตามธรรมชาติ

Admin
Written by Review Weed Cannabis & Health Enthusiast
Updated: 2023-11-08
คู่มือการปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor)

Table of Contents

สภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อนของประเทศไทยมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ เหมาะกับผู้ที่ต้องการปลูกกัญชาระบบเปิดหรือกลางแจ้ง แสงแดดและรูปแบบสภาพอากาศที่เฉพาะเจาะจง อาจทำให้ดูเหมือนเป็นสวรรค์สำหรับผู้เพาะปลูก แต่ก็ยังมีความท้าทายในการปลูกรอการแก้ไขอยู่

ในคู่มือนี้ เราจะเจาะลึกเกี่ยวกับการปลูกกัญชากลางแจ้งในประเทศไทย เริ่มจากการให้ความสำคัญของการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมและเลือกเมล็ดพันธุ์กัญชา รวมถึงสายพันธุ์กัญชาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความแตกต่างของดิน สภาพอากาศของไทย และความท้าทายในการเพาะปลูกทั่วไป ทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณได้รับผลผลิตที่สูง

บทความนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้เพาะปลูกกัญชากลางแจ้ง ด้วยความรู้นี้ ทั้งผู้ที่เริ่มปลูกและเกษตรกรผู้มีประสบการณ์ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะการปลูกสวนกัญชาให้สวยงามอุดมสมบูรณ์ได้ภายใต้เงื่อนไขทางธรรมชาติของประเทศไทย

สิ่งที่ควรรู้

การเรียนรุ้วิธีปลูกกัญชาเป็นมากกว่าแค่การโยนเมล็ดพันธุ์ลงดินและรอ จริงอยู่ว่ามันอาจจะได้ผล แต่คุณจะไม่ได้ดอกกัญชาที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ

ตัวอย่างเช่น ต้นกัญชาที่ปลูกกลางแจ้ง สามารถสูงได้ถึง 5 เมตร ซึ่งหมายความว่าต้นกัญชาต้องการพื้นที่และการรองรับจำนวนมาก ประการที่สอง กัญชาเป็นพืชที่ต้องการช่วงแสงซึ่งปริมาณแสงแดดจะเป็นตัวกำหนดระยะการเจริญเติบโต ด้วยเหตุนี้จึงเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในช่วงฤดูร้อนอันยาวนาน

ภาพที่แสดงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น สถานที่ สภาพภมูิอากาศ ลมฟ้าอากาศ และแสงสว่างสำหรับการปลูกกัญชากลางแจ้ง
การวางแผนการปลูกกัญชากลางแจ้งต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวข้างต้น

แม้ว่าคุณจะสามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้หากปลูกแบบในร่มได้อย่างง่ายดาย แต่การปลูกกัญชากลางแจ้งจะเป็นอะไรที่ทำได้ยาก เนื่องจากต้องมีการพึ่งพาธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ รายละเอียดด้านล่างนี้เป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่คุณควรรู้ หากจะวางแผนการปลูกกัญชากลางแจ้ง (outdoor)

สถานที่ปลูก

พิจารณาสิ่งต่อไปนี้สำหรับการเลือกพื้นที่เพาะปลูก หากปฏิบัติตามแนวทางส่วนใหญ่ที่เรานำมาแชร์กันนี้ จะช่วยให้ดอกกัญชาของคุณมีคุณภาพมากขึ้นเดียว

  • เลือกที่มีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย: เลือกสถานที่ที่เงียบสงบ เพื่อให้แน่ใจว่าต้นกัญชาของคุณจะไม่เป็นเป้าสายตาและปลอดภัยจากการถูกขโมย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเจริญเติบโตขั้นสุดท้าย
  • มีแสงแดดอย่างต่อเนื่อง: ต้นกัญชาต้องการแสงแดดที่เพียงพอ ดังนั้น ควรเลือกสถานที่ที่มีแสงแดดส่องถึงซึ่งแสงสามารถเข้าถึงต้นไม้ได้เกือบตลอดทั้งวัน
  • อันตรายจากสภาพอากาศที่เป็นมลพิษ: ภัยคุกคามจากสภาพอากาศ เช่น พายุ คลื่นความร้อน และน้ำท่วม สามารถสร้างหายนะให้กับพืชผลของคุณได้ ปกป้องต้นไม้ของคุณโดยเลือกสถานที่กำบังหรือเตรียมการสำหรับกิจกรรมเหล่านี้โดยมีที่กำบัง
  • มลภาวะทางแสง: หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่โดนแสงที่มนุษย์สร้างขึ้นในเวลากลางคืน เนื่องจากอาจรบกวนวงจรการเจริญเติบโตของพืชได้ โดยกัญชาใช้เวลาช่วงมืดถึง 12 ชั่วโมง กว่าจะออกดอกใหญ่
  • มีพื้นที่เพียงพอ: ระเบียงและหลังคาล้วนเป็นสถานที่ที่ดี หากจะปลูกต้นกัญชาจำนวนไม่มากนัก สำหรับสวนขนาดใหญ่ ให้ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สวนหลังบ้านหรือฟาร์ม

ภูมิอากาศ ลม และฝน

การปลูกกัญชานอกประเทศไทยหมายถึง การทำความเข้าใจสภาพอากาศที่หลากหลาย ตั้งแต่อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงและปริมาณน้ำฝนไปจนถึงรูปแบบของลม รายละเอียดด้านล่างนี้คือ สภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อต้นกัญชา

อุณหภูมิและฤดูกาล

ประเทศไทยมี 3 ฤดูกาลหลัก ๆ โดยแต่ละฤดูกาลมีความท้าทายและมีประโยชน์สำหรับกัญชา ดังนี้:

  • ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์): อุณหภูมิโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 15 ถึง 28 องศาเซลเซียส อากาศเย็นแบบนี้เหมาะแก่การปลูกต้นกัญชาที่มีอายุน้อย
  • ฤดูร้อน (มีนาคม-มิถุนายน): อุณหภูมิอาจเพิ่มขึ้นจาก 25 ถึง 35 องศาเซลเซียส ฤดูนี้พืชต้องการปริมาณน้ำมาก เพราะอากาศที่ร้อนจัด
  • ฤดูมรสุม (กรกฎาคม-ตุลาคม): อากาศยังคงอบอุ่นและมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 24 ถึง 32 องศาเซลเซียสบกับฝนตกหนัก ในช่วงนี้ปริมาณฝนในประเทศไทยอาจอยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 2,500 มิลลิเมตร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมั่นใจว่าพืชจะไม่ได้รับน้ำมากเกินไป

สถานที่ต่างกัน อากาศต่างกัน

พื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยอาจมีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันเล็กน้อย นี่คือไฮไลท์:

  • บริเวณชายฝั่ง (เช่น ภูเก็ต และพัทยา): พื้นที่ชายฝั่งทะเลมักจะมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น เนื่องจากอิทธิพลของทะเลที่พัดเบาบาง นอกจากนี้ยังสามารถเผชิญกับปริมาณน้ำฝนที่สม่ำเสมอมากขึ้นตลอดทั้งปี ทำให้มีความชื้นค่อนข้างมาก
  • ที่ราบสูงภาคเหนือ (เช่น เชียงใหม่และเชียงราย): พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่สูง อาจมีอากาศที่เย็นลงได้ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนของฤดูหนาว ทางภาคเหนือยังอาจพบกับหมอกและอุณหภูมิที่เย็นกว่าซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับสายพันธุ์กัญชาบางสายพันธุ์ หากไม่มีการป้องกันที่เพียงพอ
  • ที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน รวมทั้งอุดรธานี): บริเวณนี้จะแห้งและร้อนกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ความผันผวนของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนจะชัดเจนมาก
  • ที่ราบภาคกลาง (เช่น กรุงเทพฯ): ภูมิภาคนี้ซึ่งรวมถึงเมืองหลวงด้วย มีสภาพอากาศแบบเขตร้อนชื้นและแห้ง มีอากาศร้อนชื้นเกือบทั้งปี โดยมีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างฤดูฝนและฤดูแล้ง

เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะปลูกกัญชาที่ไหนในประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคและความชื้นที่มาพร้อมกับกัญชา การปลูกกลางแจ้งในประเทศไทยอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากมีความชื้นสูง จึงอาจทำให้ผู้ปลูกไม่สามารถผลิตดอกกัญชาคุณภาพสูงได้

นั่นคือเหตุผลที่การเลือกสายพันธุ์กัญชาให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศเฉพาะของภูมิภาคควบคู่ไปกับการเตรียมงานที่เหมาะสม จะสามารถเพิ่มโอกาสในการเก็บเกี่ยวที่ประสบความสำเร็จได้

ปฏิทินการเพาะปลูก: จะปลูกและเก็บเกี่ยวเมื่อไหร่ดี

สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะปลูกกัญชากลางแจ้งในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ด้านล่างนี้คือปฏิทินการเพาะปลูกที่ในช่วงที่เหมาะสมที่สุด

อินโฟกราฟิกแสดงปฏิทินการเพาะปลูกกัญชากลางแจ้งสำหรับต้นกัญชาในประเทศไทย
แนะนำให้ปฏิบัติตามปฏิทินเพาะปลูกนี้ หากต้องการปลูกกัญชากลางแจ้งในประเทศไทย

ปลายเดือนตุลาคม – ต้นเดือนพฤศจิกายน

การเพาะเมล็ดในร่ม

เริ่มต้นการเพาะปลูกกัญชาในร่มได้ในช่วงเวลานี้ วิธีนี้จะช่วยให้ต้นกล้าเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการคุ้มครอง โดยปกป้องพวกเขาจากมรสุมอันยาวนาน รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่อาจคาดไม่ถึง

กลางเดือนธันวาคม – ต้นเดือนมกราคม

ย้ายต้นกล้าออกไปปลูกกลางแจ้ง

ทันทีที่ต้นกล้าโตเต็มที่และอากาศเริ่มเย็นลง ก็ถึงเวลาย้ายออกไปข้างนอก อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นในช่วงนี้จะส่งเสริมการเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง

เดือนกุมภาพันธุ์ – เดือนเมษายน

ระยะการเติบโต การตัดแต่ง และดัดต้นกัญชา

ฤดูร้อนให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืชกัญชา ในระหว่างขั้นตอนนี้ สิ่งสำคัญคือ ต้องตัดแต่งและดัดต้นกัญชา เพื่อเป็นการเพิ่มแสงและการไหลเวียนของอากาศให้ได้มากที่สุด เมื่อความร้อนทวีความรุนแรงขึ้น ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ทำให้ดินชุ่มมากเกินไป ใช้ผ้าบังแดดหรือตาข่ายเท่าที่จำเป็น เพื่อปกป้องต้นไม้จากแสงแดดจ้า และอาจใช้ผ้าบังลมหรือที่บังลม เพื่อป้องกันลมแรง

เดือนพฤษภาคม – เดือนกรกฎาคม

ระยะออกดอก

การเปลี่ยนจากฤดูร้อนไปเป็นฤดูฝน ทำให้เกิดการออกดอกในต้นกัญชาตามธรรมชาติ จึงควรมีติดตามอย่างใกล้ชิดในช่วงเวลานี้ ฝนที่ตกเร็วกว่าปกติอาจเป็นประโยชน์ในช่วงระยะออกดอกนี้ แต่ฝนตกมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาได้ สิ่งสำคัญคือ ต้องแน่ใจว่าต้นกัญชาจะได้รับการปกป้องจากความชื้นที่มีมากเกินไป เพื่อป้องกันเชื้อราและตาเน่า

ปลายเดือนกรกฎาคม – ต้นเดือนสิงหาคม

ฤดูการเก็บเกี่ยว

ควรตั้งเป้าที่จะเก็บเกี่ยวดอกกัญชาในช่วงเวลานี้ ก่อนที่มรสุมที่หนักที่สุดจะมาถึง เพื่อให้แน่ใจว่าดอกตูมจะแห้งและปราศจากเชื้อรา

แสงสว่าง

แสงแดดเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของกัญชา โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยให้พืชเติบโตและพัฒนาได้ การกำหนดเวลาการเพาะปลูกโดยให้เป็นช่วงเดือนที่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้ต้นกัญชารับแสงแดดได้ดีขึ้น

  • ในระยะการงอก (เดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม) ประเทศไทยจะมีเวลากลางวันสั้นกว่า ซึ่งเหมาะกับความต้องการของต้นกล้ากัญชา
  • ในช่วงระยะการเจริญเติบโต (เดือนมกราคม – เดือนกุมภาพันธ์) ต้นกัญชาต้องการแสงสว่างมาก โดยควรจะได้รับแสงสว่างที่ 18-24 ชั่วโมงต่อวัน เวลากลางวันที่ยาวนานขึ้นในฤดูหนาวของไทยสอดคล้องกับความต้องการนี้
  • ในระยะการออกดอก (เดือนมีนาคม – เดือนเมษายน) พืชกัญชาต้องการแสงสว่างที่ 12 ชั่วโมง และความมืดที่ 12 ชั่วโมงทุกวัน สิ่งนี้กระตุ้นให้เกิดการผลิตดอก เมื่อเราก้าวเข้าสู่ปลาย ๆ ฤดูร้อน ประเทศไทยจะค่อย ๆ ลดเวลากลางวันลง ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดนี้
  • สุดท้ายในช่วงการเก็บเกี่ยว (เดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน) ปริมาณแสงแดดก็ไม่สำคัญ ต้นไม้กำลังเติบโตและพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว เวลากลางวันในประเทศไทยยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานี้ ซึ่งไม่ส่งผลเสียต่อต้นกัญชาที่โตเต็มที่แล้ว

การควบคุมแมลงศัตรูพืช

แมลงศัตรูพืชหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้นของประเทศไทย นั่นหมายความว่า พืชกัญชากลางแจ้งของคุณมีความเสี่ยงที่จะถูกแมลงรบกวน ดังนั้นควรป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ และเรียนรู้เกี่ยวกับแมลงรบกวนในท้องถิ่น เพียงเท่านี้ก็จะช่วยจัดการและป้องกันแมลงดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แมลงรบกวนทั่วไปที่สามารถรบกวนต้นกัญชาของคุณได้ อาทิ ไรแดง ตั๊กแตน แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อ และเพลี้ยอ่อน สัตว์ป่ายังสามารถมากินพืชกัญชาของคุณได้เช่นกัน หากอุปสรรคทางกายภาพและการป้องกันไม่สมบูรณ์ สัตว์ป่าก็สามารถมากินต้นกัญชาที่ปลูกไว้ได้เช่นกัน

วิธีการป้องกันแมลงศัตรูพืชมาทำลายสวนกัญชา

การใช้มาตรการป้องกันร่วมกับการรักษาอย่างทันท่วงที จะเป็นการป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ดีที่สุด ที่ซึ่งมันเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่นและชื้นของประเทศไทย

มาตรการการป้องกันที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ได้แก่:

  • น้ำมันสะเดา: น้ำมันสะเดาเป็นสารไล่แมลงตามธรรมชาติ สามารถยับยั้งแมลงรบกวนได้หลายชนิด การฉีดพ่นสารละลายเจือจางเป็นประจำ จะช่วยป้องกันได้
  • การปลูกร่วมกัน: ปลูกพืชอื่น ๆ ร่วมกับกัญชา เช่น ดอกดาวเรือง ใบโหระพา หรือดอกเบญจมาศ ควบคู่ไปกับกัญชา พืชเหล่านี้จะทำหน้าที่ไล่แมลงศัตรูพืชบางชนิดตามธรรมชาติได้
  • ประโยชน์จากแมลง: การใช้สัตว์นักล่าตามธรรมชาติ เช่น เต่าทองและแมลงช้างปีกใส สามารถช่วยควบคุมการรบกวนของแมลงอย่างเพลี้ยอ่อนและไรได้
  • ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ: ตรวจสอบพืชกัญชาอย่างสม่ำเสมอว่ามีสัญญาณของศัตรูพืชหรือความเสียหายหรือไม่ หากตรวจพบแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยควบคุมและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • อุปสรรคทางกายภาพ: ใช้ตาข่ายเพื่อปกป้องพืชกัญชาจากศัตรูพืชขนาดใหญ่เช่น ตั๊กแตน และผีเสื้อกลางคืน

ลองใช้มาตรการเหล่านี้ หากพืชกัญชาถูกรบกวน:

  • สบู่ยาฆ่าแมลง: เหล่านี้ปลอดภัยสำหรับพืชและมีประสิทธิภาพในการจัดการกับศัตรูพืช เช่น ไรและเพลี้ย
  • ดินเบากำจัดแมลง: เป็นสารฆ่าแมลงตามธรรมชาติ และสามารถโรยรอบโคนต้น เพื่อยับยั้งแมลงที่คลานได้
  • ยาฆ่าแมลงออร์แกนิค: มียาฆ่าแมลงออร์แกนิคหลายชนิดที่ปลอดภัยสำหรับต้นกัญชาและมีประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด
  • กำจัดแมลงด้วยตนเอง: สำหรับสัตว์รบกวนขนาดใหญ่ เช่น หนอนผีเสื้อ การกำจัดด้วยตนเองอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

การเลือกสายพันธุ์กัญชา

การเลือกสายพันธุ์กัญชาสำหรับการเพาะปลูกกลางแจ้งจำเป็นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงพันธุกรรม ลักษณะการเติบโต และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น

กัญชาสายพันธุ์ไฮบริด ซาติวา และอินดิกา

ดอกกัญชามี 3 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่ ซาติวา (Sativa), อินดิกา (Indica) และลูกผสมหรือไฮบริด (Hybrid) แต่ละพันธุ์จะมีลักษณะเฉพาะตัว เช่น กลิ่น ความไฮ รสชาติ ผลผลิต และความยืดหยุ่นต่อสิ่งแวดล้อม การรู้ว่าคุณต้องการอะไรจากพืชกัญชา จะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรปลูกกัญชาสายพันธุ์ไหน

  • ซาติวา (Sativa): สายพันธุ์เหล่านี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน
  • อินดิก้า (Indica): แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว สายพันธุ์นี้จะชอบสภาพอากาศที่เย็นกว่า แต่อินดิก้าบางสายพันธุ์สามารถปรับให้เข้ากับเดือนที่อากาศเย็นกว่าของประเทศไทยได้ โดยเฉพาะในภาคเหนือ
  • ไฮบริด (Hybrid): เป็นการรวมคุณลักษณะของทั้ง sativa และ indica ลูกผสมหรือไฮบริด สามารถนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดของทั้งสองโลก โดยปรับให้เข้ากับอุณหภูมิที่แตกต่างกันได้ตลอดทั้งปี

กัญชาสายพันธุ์ Autoflowering

สายพันธุ์ที่ออกดอกอัตโนมัติ (Autoflowering) มีความยืดหยุ่นและไม่อาศัยวงจรแสง ทำให้เหมาะสำหรับสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถคาดเดาได้ สิ่งเหล่านี้มีลักษณะทางพันธุกรรมของกัญชาสายพันธุ์ Ruderalis ซึ่งทำให้มีความยืดหยุ่นสูงและยอดเยี่ยมมาก สำหรับการเจริญเติบโตกลางแจ้ง

หากเป็นสายพันธุ์นี้ คุณไม่ต้องกังวลเรื่องแสงเลย เนื่องจากแสงจะเปลี่ยนไปตามช่วงอายุ

กัญชาสายพันธุ์ Landrace

กัญชาสายพันธุ์ Landrace ได้รับการปรับให้เข้ากับภูมิภาคเฉพาะ โดยนำเสนอประสบการณ์การเติบโตที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเชื่อมโยงกับมรดกดั้งเดิมของพวกเขา มีพันธุ์พื้นเมืองของไทยซึ่งมีการปรับให้เข้ากับสภาพอากาศของประเทศตามธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไปสายพันธุ์นี้มีการพัฒนาตัวเองโดยให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ทำให้พวกมันเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ สำหรับการเพาะปลูกกัญชาแบบกลางแจ้ง

สายพันธุ์ที่ให้กลิ่นหอม

แม้ว่ากลิ่นของต้นกัญชาอาจดูเป็นเรื่องรอง แต่ก็เป็นหนึ่งในข้อพิจารณาที่สำคัญสำหรับผู้เพาะปลูก สายพันธุ์ที่มีกลิ่นหอมเข้มข้น สามารถดึงดูดความสนใจได้ ในขณะที่สายพันธุ์ที่มีกลิ่นที่สุขุมมากกว่าจะรับประกันความเป็นส่วนตัวได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

ความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืชและโรค

โดยธรรมชาติแล้วกัญชาบางสายพันธุ์มีความทนทานต่อแมลงศัตรูพืชและโรคทั่วไปในพื้นที่ได้ดีกว่า ด้วยสภาพอากาศเขตร้อนของประเทศไทย ต้นกัญชาอาจต้องเผชิญกับแมลงมากมาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเก็บเกี่ยวดอกกัญชาให้ได้มากที่สุด ให้มองหาสายพันธุ์ที่ต้านทานทางพันธุกรรมต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น เชื้อราและแมลงศัตรูพืช

สายพันธุ์ที่แนะนำสำหรับการปลูกกัญชากลางแจ้งในประเทศไทย

  • สายพันธุ์ Landrace ของไทย: ปรับให้เหมาะกับสภาพอากาศในท้องถิ่น
  • Durban Poison: กัญชาสายพันธุ์ซาติวา (Sativa) ที่ยืดหยุ่นได้ดีในสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้น
  • Northern Lights: กัญชาสายพันธุ์อินดิกา (Indica) ที่มีชื่อเสียงระดับโลก สามารถรับมือกับอุณหภูมิที่เย็นกว่าได้ เหมาะสำหรับการปลูกที่ภาคเหนือ
  • Auto Blueberry: ความคล่องตัวในการออกดอกอัตโนมัติของสายพันธุ์ Blueberry ทำให้ผู้ปลูกได้เปรียบในการรับมือกับสภาพอากาศในประเทศไทยได้ดี
  • Lowryder: เป็นตัวเลือก Autoflowering ที่รอบคอบและง่ายต่อการจัดการ

ใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเพาะปลูกกลางแจ้งโดยจับคู่สายพันธุ์กัญชาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและความชอบของคุณ

การรดน้ำต้นกัญชา

การรดน้ำต้นกัญชาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะการเจริญเติบโต ประเภทของดิน และสภาพอากาศ กฎทั่วไปของการรดน้ำต้นไม้ คือรดน้ำเมื่อดินด้านบนแห้งสนิท เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่รากจะเน่า

รายละเอียดด้านล่างนี้คือ คำแนะนำในการรดน้ำในระยะต่าง ๆ ของต้นกัญชา

ต้นกล้าอ่อน (Seedling Stage)

ต้นกัญชาที่เพิ่งงอกใหม่จะมีความละเอียดอ่อน ในสภาพอากาศแบบเขตร้อนของประเทศไทย อาจให้ทำที่เยอะได้ แต่เราไม่แนะนำให้ทำอย่างนั้น ขอเพียงแค่ให้ดินชุ่มชื้นเล็กน้อยก็พอ เพื่อป้องกันน้ำขัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ด้วยเหตุนี้จะดีที่สุดหากปลูกต้นกล้าอ่อนเหล่านี้ในร่มหรือในบ้านก่อนที่จะนำออกไปปลูกกลางแจ้ง

ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น (Vegetative phase)

เมื่อต้นกัญชาเติบโตมันจะต้องการน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนที่แผดเผาของประเทศไทย ตรวจเช็คหน้าดิน ถ้ารู้สึกแห้งในตอนเช้าก็ให้น้ำสักแก้ว บางครั้งอาจจำเป็นต้องรดน้ำครั้งที่สองในช่วงบ่ายแก่ ๆ อีกสักรอบ

ระยะออกดอก (Flowering phase)

มาถึงช่วงออกดอก ความชื้นสูงของประเทศไทยเป็นสิ่งที่ท้าทาย ต้นกัญชาต้องการน้ำ แต่ถ้ามากเกินไปอาจทำให้ตาเน่าได้ ซึ่งเป็นปัญหาทั่วไปในพื้นที่ชื้น หมั่นตรวจสอบความชื้นของดิน ให้แน่ใจว่าดินชื้นแต่ไม่ได้เปียกโชก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

การเลือกน้ำให้เหมาะสมกับต้นกัญชา

เมื่อพูดถึงการปลูกกัญชา น้ำที่ใช้มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพและผลผลิตของต้นกัญชา ซึ่งน้ำสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดังนี้

น้ำประปา:

  • เริ่มจากการตรวจสอบค่า pH ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 6.0 – 7.0 แม้ว่าน้ำประปาจะหาซื้อได้ง่าย แต่ก็อาจมีคลอรีนและสารปนเปื้อนอื่น ๆ อยู่ด้วย ซึ่งอาจเป็นตัวเลือกที่ไม่ดีนักสำหรับต้นกัญชา

น้ำดื่มบรรจุขวด:

  • น้ำดื่มบรรจุขวดเป็นตัวเลือกที่เชื่อถือได้และมีคุณภาพสม่ำเสมอ และมักจะเหนือกว่าน้ำประปาในแง่ของความบริสุทธิ์และความน่าเชื่อถือ

น้ำ RO (Reverse Osmosis):

  • น้ำ RO ขึ้นชื่อในด้านความบริสุทธิ์ที่เกือบจะบริสุทธิ์ จึงทำให้เป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ สำหรับการเพาะปลูกกัญชา อย่างไรก็ตาม การลงทุนในช่วงแรกอาจจะสูงสักหน่อย

สำหรับผู้ที่มองหาความแม่นยำสูงสุดในกระบวนการเพาะปลูกกัญชา น้ำ RO ให้การควบคุมที่เหนือชั้น แต่สำหรับผู้เพาะปลูกที่กำลังมองหาแนวทางที่จัดง่ายและไม่ยุ่งยาก น้ำแร่บรรจุขวดก็เป็นทางเลือกที่ไว้วางใจได้เช่นกัน

Pests

การปลูกกัญชากลางแจ้งในประเทศไทยถูกกฎหมายหรือไม่

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทยระบุว่า การปลูกกัญชา เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัวเป็นเรื่องถูกกฎหมาย คนไทยสามารถปลูกกัญชาที่บ้านได้ไม่เกิน 15 ต้น โดยต้องมีการลงทะเบียนกับรัฐบาลก่อน การให้ตำรวจท้องที่เข้ามาคอยตรวจสอบก็เป็นอะไรที่ดีเหมือนกัน โดยเฉพาะหากเกิดกรณีที่มีการเข้าตรวจค้นโดยที่ไม่คาดคิดมาก่อน

เมล็ดพันธุ์กัญชาหรือโคลนกัญชา: เริ่มที่ขั้นตอนแรก

เปรียบเทียบการปลูกกัญชาจากเมล็ดพันธุ์กัญชากับโคลนกัญชา

การเริ่มต้นการเพาะปลูกกัญชาเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ ส่วนที่สำคัญ ไม่ว่าจะเริ่มต้นการปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์กัญชาหรือปลูกจากโคลนกัญชา ควรคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้

คุณสมบัติปลูกจากโคลนกัญชาปลูกจากเมล็ดพันธุ์กัญชา
ความสม่ำเสมอทางพันธุกรรมลำต้นสูง (แบบจำลองพันธุกรรมที่แน่นอนของต้นแม่)ปัจจัยทางพันธุกรรมอาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์
อัตราการเติบโตเริ่มต้นเร็วขึ้น (ข้ามขั้นตอนการงอกไป)ช้าลง (ต้องผ่านระยะการงอกและระยะต้นกล้า)
ความหลากหลายของสายพันธุ์มีจำกัด (ขึ้นอยู่กับต้นแม่)กว้าง (มีตัวเลือกเมล็ดพันธุ์มากมาย)
มีความอ่อนไหวต่อสัตว์รบกวน/โรคมีความเสี่ยง (โรคใด ๆ จากสายพันธุ์แม่ที่มีผลต่อการโคลน)ต่ำกว่า (การเริ่มปลูกใหม่ ช่วยให้ปราศจากโรคได้)
ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวโดยทั่วไปเร็วกว่า (เนื่องจากการข้ามระยะแรกไป)ยาวนานกว่า (ต้องผ่านทุกระยะการเติบโต)
การลงทุนระยะแรกอาจมีราคาแพงกว่า (ซื้อกัญชาที่โตมาระยะหนึ่งแล้ว)ทั่วไปแล้วจะถูกกว่า (ปกติอล้วเมล็ดพันธุ์จะมีราคาถูกกว่าโคลน)
ระดับประสบการณ์จากมือใหม่สู่ผู้เชี่ยวชาญ (ง่ายสำหรับผู้เริ่มต้น)ส่วนใหญ่สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ระดับกลางถึงผู้เชี่ยวชาญ (ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างระมัดระวัง)
ภาวะช็อกจากการปลูกถ่ายต่ำกว่า (โคลนมักจะพร้อมกับการปลูกถ่าย)อาจสูงกว่า (การย้ายต้นกล้าต้องละเอียดอ่อน)

ปลูกกัญชาจากเมล็ดพันธุ์

คุณสามารถปลูกกัญชาจากเมล็ดพันธุ์ได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง แต่ละเลือกแบบไหนขึ้นอยู่กับระดับประสบการณ์ ทรัพยากร และระดับความสะดวกในการจัดการ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

การปลูกกัญชาในร่ม (Indoor)

สำหรับเกษตรกรผู้เพาะปลูกกัญชาจำนวนมากในประเทศไทย วิธีที่พวกเขาเลือกจะเป็นการปลูกกัญชาจากเมล็ดพันธุ์และการปลูกกัญชาในร่มเป็นส่วนใหญ่

สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมจะช่วยป้องกันต้นอ่อนจากฝนที่ตกลงมาอย่างกะทันหัน หรือคลื่นความร้อนที่ไม่คาดคิด ผู้เพาะปลูกต้องมีการติดตามระดับความชื้นและแสงได้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าต้นกล้ามีจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด (การควบคุมระดับนี้ เมื่อตรวจสอบไปจนถึงระยะออกดอก จะทำให้มั่นใจว่าดอกตูมที่จะได้นั้นมีคุณภาพสูงสุด)

เมื่อต้นอ่อนเหล่านี้เติบโตแข็งแรงขึ้น โดยปกติแล้วภายในไม่กี่สัปดาห์ ก็สามารถย้ายไปปลูกกลางแจ้งได้แต่ควรทำอย่างระมัดระวัง ซึ่งตรงกับช่วงการเจริญเติบโตที่ดีที่สุดของประเทศไทยพอดี

การปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor)

ผู้เพาะปลูกกัญชาที่มีประสบการณ์บางรายเลือกที่จะปลูกกัญชากลางแจ้ง เนื่องจากเชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้วงจรการเจริญเติบโตของกัญชาสอดคล้องกับจังหวะของธรรมชาติตั้งแต่เริ่มต้น การทำเช่นนี้จะทำให้กัญชาสามารถพัฒนาความยืดหยุ่นตามธรรมชาติต่อสภาพอากาศในท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตามแนวทางนี้มีความเสี่ยงอยู่ ต้นอ่อนอาจเสี่ยงต่อฝนตกหนักหรืออิทธิพลภายนอก เช่น สัตว์รบกวน สัตว์ป่า หรือสภาพอากาศที่เลวร้าย

ปลูกจากโคลนกัญชา: เริ่มต้นได้เร็วกว่า

การโคลนนิ่งเป็นการตัดจาก ‘ต้นแม่’ ช่วยให้ผู้เพาะปลูกทราบเส้นทางกัญชาที่คาดเดาได้และสม่ำเสมอ ซึ่งต่างจากการปลูกจากเมล็ดพันธุ์กัญชาที่อาจมีความแปรปรวนทางพันธุกรรมได้ โคลนกัญชาจะรักษาพันธุกรรมของพ่อแม่เอาไว้ เพื่อให้แน่ใจว่ารูปแบบการเจริญเติบโตและลักษณะเฉพาะของพวกมันจะคงที่ ทำให้พวกมันเหมาะอย่างมากสำหรับการปลูกกัญชาในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลายของประเทศไทย

ข้อได้เปรียบที่สำคัญของการใช้โคลนคือประหยัดเวลา เมื่อข้ามระยะการงอก โคลนเมื่อย้ายปลูกสามารถก้าวหน้าในวงจรการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายถึงการเก็บเกี่ยวที่รวดเร็วขึ้น สอดคล้องกับรูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยสรุปแล้ว การเลือกปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์และการโคลนกัญชา ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ, ทรัพยากรที่มีอยู่ และความต้องการของคุณ ลองพิจารณาข้อดีของทั้งสองแนวทาง และตัดสินใจว่า แนวทางไหนสอดคล้องกับคุณมากที่สุด

ความสำคัญของดิน

ดินที่ดีเป็นรากฐานสำหรับต้นกัญชาในการเจริญเติบโต ไม่ว่าจะเป็นดินทั่วไปหรือดินที่ผสมเอง การทำความเข้าใจองค์ประกอบและคุณสมบัติของดิน สามารถส่งผลต่อความสำเร็จในการเพาะปลูกของคุณได้อย่างมาก

ภาพแสดงชนิดของดินพีท ดินร่วน ดินเหนียว และดินตะกอนสำหรับปลูกกัญชา
ดินชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด

ประเภทของดิน

ดินทั่วไปที่สามารถหาได้จากสวนหลังบ้าน ได้แก่:

  • ดินร่วน: มีส่วนผสมของทราย, ดินตะกอน และดินเหนียว เหมาะสำหรับทำสวนเนื่องจากมีความชื้นและกักเก็บสารอาหารได้ดี แต่อาจมีราคาสูงกว่า และซื้อได้ยากกว่า
  • ดินทราย: เบา และระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว แต่เก็บสารอาหารในระยะยาวได้ไม่ดี
  • ดินเหนียว: อุดมไปด้วยสารอาหาร กักเก็บน้ำได้มากเกินไป และพบได้ทั่วไปในพื้นที่ปลูกข้าวในประเทศไทย
  • ดินตะกอน: มีความอุดมสมบูรณ์และกักเก็บความชื้นได้ดี แต่อัดเป็นก้อนได้ง่าย ทำให้รากงอกและกระจายออกได้ยาก
  • ดินพีท : มีสารอินทรีย์สูงและกักเก็บความชื้นได้ดี อย่างไรก็ตาม จะมีค่า pH ที่ต่ำ และอาจต้องมีการปรับปรุงดิน
  • ส่วนผสมสำหรับปลูกเชิงพาณิชย์: ส่วนผสมพร้อมใช้งานที่มีสารอาหารที่สมดุล และกักเก็บน้ำได้ดี

ทั่วทั้งประเทศไทย เราอาจพบทั้งดินเหนียว, ดินทราย และดินร่วนปนทราย ดินเหนียวขึ้นชื่อเรื่องปริมาณสารอาหารสูง และพบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่ปลูกข้าว ส่วนดินทรายมีแนวโน้มที่จะอยู่บริเวณชายฝั่งและริมแม่น้ำ เนื่องจากดินเหล่านี้สามารถระบายน้ำได้รวดเร็ว 

ทำไมดินออร์แกนิคจึงสร้างความแตกต่างได้มาก

ดินออร์แกนิค เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ อุดมไปด้วยสารอาหาร และเหมาะที่สุดสำหรับการปลูกกัญชา เพราะจะช่วยส่งเสริมรากให้แข็งแรง และเพิ่มความต้านทานต่อโรคของพืช

สำหรับผู้ปลูกที่ต้องการลงมือปฏิบัติจริง การได้ผสมดินแบบกำหนดเองจะช่วยให้สามารถควบคุมองค์ประกอบของดินได้อย่างแม่นยำ โดยต้องคำนึงถึงความต้องการเฉพาะของสายพันธุ์กัญชาที่จะปลูก ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการผสมวัสดุอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยมูลไส้เดือน หรือกระดูกป่น เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และโครงสร้างดิน

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างดินออร์แกนิค กับดินทั่วไปที่พบได้ในร้านค้า ก็คือ ดินออร์แกนิคจะเต็มไปด้วยจุลินทรีย์และสารอาหารตามธรรมชาติ ในขณะที่ดินที่วางขายตามท้องตลาดมักจะมีส่วนผสมทางเคมี

ความสำคัญของค่า pH ในดิน

ค่า pH ในดิน ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและผลผลิตของพืชกัญชา ระดับ pH จะบ่งบอกความเป็นกรดและด่างในดิน ซึ่งบอกว่าพืชสามารถดูดซับสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด

เมื่อค่า pH ของดินสมดุล พืชจะสามารถดูดซับสารอาหารที่จำเป็นจากดินได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม เมื่อค่า pH สูงเกินไป (เป็นด่าง) หรือต่ำเกินไป (เป็นกรด) สารอาหารบางชนิดจะน้อยลง ส่งผลให้เกิดการขาดสารอาหาร และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกัญชาได้

ในประเทศไทย ค่า pH ของดินโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6.5-7.5 ทำให้ดินมีความเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง โดยทั่วไปแล้ว ถือเป็นผลดีต่อพืชส่วนใหญ่ รวมถึงกัญชาด้วย หากค่า pH ของดินอยู่นอกช่วงนี้ อาจทำให้พืชขาดสารอาหาร และส่งผลให้พืชต้องดิ้นรนเพื่อดูดซับสารอาหารที่จำเป็นได้

การทดสอบและปรับค่า pH ในดิน

  • การทดสอบค่า pH: เพื่อการอ่านค่าที่แม่นยำ ให้ใช้เครื่องวัดค่า pH ที่เสียบเข้าไปในดินโดยตรง หรืออาจใช้แถบวัด pH ที่ใช้งบประมาณไม่สูง เพียงผสมตัวอย่างดินกับน้ำ แล้วจุ่มแถบวัดลงไป ก็จะทราบค่า pH ของดินแบบคร่าว ๆ ได้ทันที
  • การปรับ pH: ผู้เพาะปลูกอาจต้องปรับ pH ของดิน ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการทดสอบ โดยสามารถเติมน้ำมะนาวเพื่อเพิ่ม pH (ทำให้มีความเป็นด่างมากขึ้น) ในขณะที่กำมะถันหรือผลิตภัณฑ์ที่มีค่า pH ต่ำอื่น ๆ สามารถลด pH ได้ (ทำให้มีความเป็นกรดมากขึ้น)

การตรวจสอบค่า pH อย่างสม่ำเสมอถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนที่ต่างกันหรือหลังการใช้ปุ๋ย การตรวจสอบค่า pH จะช่วยให้มั่นใจในการเติบโตของกัญชา และการให้ผลผลิตที่ดีขึ้นได้

ภาชนะปลูก

เมื่อปลูกกัญชากลางแจ้ง การเลือกภาชนะปลูกที่เหมาะสมจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของต้นกัญชา ตัวอย่างเช่น การปลูกในกระถางจะช่วยให้เคลื่อนย้าย และควบคุมสภาวะการเจริญเติบโตได้ ส่วนการปลูกโดยตรงในดินจะทำให้มีพื้นที่ในการขยายรากได้มากขึ้น แต่อาจมีข้อจำกัดในการเคลื่อนย้าย

รูปภาพของภาชนะปลูกที่มีจำหน่ายทั่วไป
ภาชนะปลูกต่าง ๆ ที่สามารถใช้ปลูกต้นกัญชาได้

นอกจากนี้ ขนาดของภาชนะก็มีความสำคัญ หากเล็กเกินไป รากจะเติบโตไม่ดี แต่ถ้าใหญ่เกินไป และดินส่วนเกินจะกักเก็บน้ำไว้ทำให้รากเน่า ดังนั้น จึงควรสร้างความสมดุลโดยพิจารณาจากขนาดและระยะการเจริญเติบโตของต้นกัญชา

ประเภทของภาชนะปลูก

  • กระถางพลาสติก : มีราคาไม่แพงและมีหลายขนาด แต่ไม่ทนความร้อนเมื่อโดนแสงแดด
  • กระถางผ้า (ถุงปลูก) : ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ, ป้องกันการรดน้ำที่มากเกินไป และกระตุ้นให้รากแตกแขนง แต่อาจต้องรดน้ำบ่อยกว่าปกติ
  • กระถางเซรามิก : แข็งแรงและช่วยให้ต้นไม้เย็น แต่หนักและเคลื่อนย้ายยาก
  • กระถาง Air pot : ออกแบบให้มีรูเพื่อเพิ่มออกซิเจน ส่งเสริมโครงสร้างรากที่แข็งแรง ป้องกันการพันกันของราก และกระตุ้นให้รากแตกแขนง
  • กระบะปลูกผัก : เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่กว้างขวาง, มีการระบายน้ำได้ดี แต่ต้องใช้ดินมากขึ้น และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
  • กระเช้าแขวน : เหมาะสำหรับพื้นที่ที่จำกัด ช่วยยับยั้งการรบกวนของแมลง แต่ต้องรดน้ำบ่อย ๆ และรากอาจเจริญเติบโตได้ไม่ดี

ท้ายที่สุดแล้ว จะเลือกภาชนะปลูกแบบไหนจะขึ้นอยู่กับพื้นที่, ความสะดวกในการเคลื่อนย้าย, และขนาดของต้นกัญชา ดังนั้น ลองพิจารณาข้อดีและข้อเสียของภาชนะปลูกแต่ละประเภท เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการเพาะปลูกกัญชากลางแจ้งในแบบของคุณ

ธาตุอาหารที่ต้นกัญชาต้องการ

โดยทั่วไปแล้ว ต้นกัญชาจะต้องการธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่า NPK

นอกจาก NPK แล้ว ต้นกัญชายังต้องการธาตุอาหารหลักรอง เช่น แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg) และซัลเฟอร์หรือกำมะถัน (S)

รวมถึงธาตุอาหารรองที่จำเป็นในปริมาณน้อย ได้แก่ แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn)

รายการธาตุอาหารที่พืชกัญชาต้องการ
ธาตุอาหารทั่วไปที่กัญชาต้องการและวิธีการจัดหา

สารละลายธาตุอาหารสำเร็จรูป

การปลูกกัญชากลางแจ้งมาพร้อมกับความท้าทาย การให้อาหารพืชอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ สารละลายธาตุอาหารสำเร็จรูปซึ่งผลิตขึ้นเพื่อกัญชาโดยเฉพาะ ถือเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์ เพราะให้สารอาหารที่พืชกัญชาต้องการโดยไม่ต้องคาดเดา และส่วนผสมเหล่านี้เหมาะสำหรับการปลูกกัญชากลางแจ้ง เพราะสามารถรับมือกับธรรมชาติที่แปรปรวนได้

อย่างไรก็ตาม ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้นกัญชาได้รับธาตุอาหารมากจนเกินไป

การผสมธาตุอาหารเอง

การได้ลงมือปฏิบัติจริงและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็คือ การใช้ปุ๋ยหมัก ซึ่งอินทรียวัตถุนี้ได้มาจากพืชที่เน่าเปื่อยและเศษอาหารในครัว ไม่เพียงแต่ให้ธาตุอาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดิน, การกักเก็บน้ำ และกิจกรรมของจุลินทรีย์ได้อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น กากกาแฟเป็นแหล่งไนโตรเจนที่สลายตัวอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของใบและลำต้น เมื่อต้นกัญชาเข้าสู่ระยะออกดอก กระดูกป่นจะให้ฟอสฟอรัสที่จำเป็นสำหรับรากและดอก เพื่อสุขภาพโดยทั่วไปและการต้านทานโรค ให้ฝังเปลือกกล้วยเพื่อปล่อยโพแทสเซียม ในขณะที่ วัสดุอื่น ๆ ที่สามารถช่วยให้คุณรักษาส่วนผสมของธาตุอาหารที่ดีต่อสุขภาพในดินได้ ได้แก่ เกลือยิปซั่ม, สารสกัดจากสาหร่ายทะเล และเปลือกไข่

สำหรับการปลูกกัญชากลางแจ้ง การใส่ปุ๋ยหมักในช่วงอายุที่เหมาะสมอาจเป็นตัวเปลี่ยนเกม เพราะจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อให้รากเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

ธาตุอาหารสำหรับการเจริญเติบโตในระยะต่าง ๆ

  • ระยะต้นกล้า (Seedling stage): ในช่วงแรก ให้เน้นที่ธาตุอาหารผสมกับไนโตรเจนในระดับที่มากขึ้นสักหน่อย เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของใบที่แข็งแรง
  • ระยะการเจริญเติบโต (Vegetative phase): ให้เปลี่ยนไปใช้ธาตุอาหารผสมที่สมดุล โดยมีไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง
  • ระยะการออกดอก (Flowering phase): ให้เปลี่ยนไปใช้ธาตุอาหารที่มีระดับฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่สูงขึ้น เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของดอก

การตรวจสอบสุขภาพต้นกัญชา, ค่า pH ของดิน และระดับธาตุอาหารเป็นประจำ ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อปรับธาตุอาหารตามการมองเห็น และหากจำเป็น ให้ทำการทดสอบดินเพื่อช่วยให้แน่ใจได้ว่า ดินมีระดับธาตุอาหารที่เหมาะสมตลอดวงจรการเจริญเติบโต

วิธีการดูแลต้นกัญชากลางแจ้งให้แข็งแรง

เนื่องจากต้นกัญชาที่ปลูกกลางแจ้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลให้เหมาะสมตลอดระยะการเจริญเติบโต เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เพาะปลูกจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตามต้องการ จึงมีสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพิ่มเติม ดังนี้

การตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งใบและกิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อช่วยให้ต้นกัญชาเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และช่วยให้แสงส่องเข้าไปด้านในได้มากขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต และช่วยให้การเจริญเติบโตของต้นกัญชามีสุขภาพที่ดีขึ้น

การดัดกิ่งกัญชา

การใช้เทคนิคดัดกิ่งกัญชา – Low-Stress Technique (LST) หรือ การตัด/หักกิ่งกัญชา – High-Stress Technique (HST) เพื่อจัดรูปทรงต้นไม้ จะช่วยให้ต้นกัญชาได้รับแสงสว่างมากขึ้น และสามารถนำไปสู่ผลผลิตที่มากขึ้น เพราะรูปร่างจะช่วยควบคุมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตของพืชได้สูงสุด

การปักหลัก/ค้ำยัน

เมื่อต้นกัญชาสูงขึ้น และมีกิ่งที่หนักขึ้น ให้ค้ำลำต้นไว้ด้วยเสา เพื่อป้องกันการแตกหัก การค้ำยันที่เหมาะสมจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า ต้นกัญชาจะเติบโตได้อย่างมั่นคง ปกป้องต้นกัญชาล้ม

การระบายอากาศในดิน

ค่อย ๆ พรวนดินรอบ ๆ ต้นกัญชา เพื่อช่วยให้รากหายใจได้ดีขึ้น และทำให้พืชมีสุขภาพดีขึ้น ดินที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี จะช่วยให้รากมีความแข็งแรงมากขึ้นนั่นเอง

การปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่น

การปลูกพืชบางชนิดใกล้กับกัญชา สามารถช่วยไล่สัตว์รบกวน, ปรับปรุงดิน หรือแม้แต่จะซ่อนต้นกัญชาก็ทำได้เช่นกัน ความสัมพันธ์ทางชีวภาพเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งสองชนิดอีกด้วย

การคลุมดิน

การวางวัสดุอินทรีย์ เช่น ฟางคลุมดิน จะช่วยกักเก็บความชื้น, กำจัดวัชพืช และรักษาอุณหภูมิของดินให้เหมาะสม นอกจากนี้ การคลุมดินยังช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้กลับคืนสู่ดินเมื่อเวลาผ่านไปได้ด้วย

บทสรุป

การปลูกกัญชาในประเทศไทยมีแนวคิดหลัก 3 ประการ ได้แก่ การค้นหาจุดที่ดีที่สุดโดยคำนึงถึงสภาพอากาศและดินในท้องถิ่น, การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์กัญชาที่เหมาะกับสภาพอากาศเขตร้อน และการทำความเข้าใจธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของดินไทย นอกจากนี้ เรื่องทั่วไปเช่น การรดน้ำ, ธาตุอาหาร รวมถึงการปกป้องต้นไม้จากปัจจัยภายนอก จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างผลผลิตที่ดีได้เช่นกัน

ทั้งหมดนี้อาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ปลูกในช่วงแรก แต่ด้วยเวลาและประสบการณ์ คุณจะมีประสบการณ์มากขึ้น ทำได้ดีมากขึ้น ลองศึกษาข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้เพิ่มเติมได้ในหัวข้อการปลูกกัญชาของเรา