งานวิจัยเกี่ยวกับกัญชาเพื่อการแพทย์ในประเทศไทย: ภาพรวมของงานวิจัยล่าสุด

Admin
Written by Review Weed Cannabis & Health Enthusiast
Updated: 2023-09-29
งานวิจัยเกี่ยวกับกัญชาเพื่อการแพทย์ในประเทศไทย: ภาพรวมของงานวิจัยล่าสุด

Table of Contents

กัญชาทางการแพทย์ได้รับการรับรองในประเทศไทยในปี 2562 ตั้งแต่นั้นมา การวิจัยเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยตรวจสอบคุณสมบัติทางการแพทย์ของมัน นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ ร่วมกับ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) และกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาวิจัยทางด้านนี้อยู่หลายชิ้น ในช่วงสามปีที่ผ่านมา งานวิจัยจำนวนมากได้ถูกการเผยแพร่ออกไปสู่สายตาสาธารณะชน ซึ่งทั้งหมดนี้สนับสนุนความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนานว่ากัญชาสามารถเป็นยาธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการบรรเทาความเจ็บปวด ช่วยเรื่องการนอนหลับ และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่ในหลาย ๆ อาการ

Weed Review ได้สรุปงานศึกษาวิจัยบางส่วนที่มีจุดประสงค์เพื่อประเมินรายละเอียดด้านคุณสมบัติการรักษาโรคของกัญชา ซึ่งจำแนกประเภทตามโรคและอาการที่ต่างกันออกไป

คำเตือน: ข้อความด้านล่างมิใช่คำแนะนำทางการแพทย์ เป็นเพียงข้อมูลอ้างอิงถึงถึงประโยชน์ของกัญชาที่มีต่อสุขภาพ Weed Review แนะนำให้ท่านปรึกษาแพทย์ที่คลินิกก่อน หากคุณต้องการใช้กัญชาเพื่อบรรเทาอาการของคุณ การพึ่งพากัญชาเพื่อรักษาโรคเพียงอย่างเดียว โดยที่หลีกเลี่ยงหรือชะลอการรักษาทางการแพทย์แบบเดิมอาจส่งผลร้ายแรงได้

กัญชากับโรคมะเร็ง

งานวิจัยนานาชาติสรุปว่าสารประกอบของกัญชา – tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) – สามารถช่วยบรรเทาผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาโรคมะเร็ง เช่น เคมีบำบัด การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ได้แสดงให้เห็นว่ากัญชาสามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และกระตุ้นความอยากอาหารในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษา งานวิจัยบางส่วนที่ทดลองกับสัตว์ยังชี้ให้เห็นว่ากัญชาสามารถชะลอการเจริญเติบโตและ/หรือทำให้เซลล์โรคมะเร็งบางชนิดตายได้

งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการช่วยรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่มีเพียงไม่กี่ชิ้นที่ได้รับกับเผยแพร่แล้ว

  • GPO ตีพิมพ์งานวิจัยเมื่อปลายปี 2020 ซึ่งเน้นถึงผลกระทบของสารสกัดกัญชาที่อุดมด้วย THC ในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม 63 ราย ซึ่งตั้งข้อสังเกตได้ว่าการใช้ THC ความเข้มข้น 0.5 ถึง 5 มก. ทุกวัน ช่วยเรื่องการนอนหลับ บรรเทาอาการความเจ็บปวดและเพิ่มความอยากอาหารขึ้น และพบผลข้างเคียงเล็กน้อยอย่างเช่น ปากแห้งและเจ็บคอในผู้ป่วยบางราย โดยรวมแล้ว การศึกษาสรุปได้ว่าน้ำมันกัญชาที่มีส่วนผสมของ THC สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ต่อสู้กับโรคมะเร็งให้ดีขึ้น
  • งานวิจัยอีกชิ้นที่เผยแพร่โดย GPO ในปีเดียวกันนั้น ได้ตรวจสอบการใช้กัญชาทางการแพทย์โดยการรักษาแบบประคับประคองอาการในผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 4 ผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันกัญชาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของไทยนอนหลับได้ดีขึ้น และมีความเจริญอาหารมากขึ้น
  • นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามยังได้ตรวจสอบผลลัพธ์ในทางที่ดีระหว่างกัญชาทางการแพทย์ของไทยที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบประคับประคอง
  • ขณะนี้ นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังทำการศึกษาถึงผลกระทบของการใช้น้ำมันกัญชาเพื่อช่วยการลดผลข้างเคียงที่เกิดจากเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เป็นการศึกษาระยะเวลา 1 ปี ที่เริ่มต้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566
  • บทความวิจัยเชิงสำรวจที่ตีพิมพ์ในวารสาร Asian Pacific Journal of Cancer Prevention ได้สังเกตเห็นถึงอารมณ์ที่ดีขึ้นของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ในภาคเหนือของประเทศไทย ผู้ป่วยเหล่านี้หลายคนเชื่อว่ากัญชาเป็นยาที่สามารถช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงของการรักษาโรคมะเร็ง และช่วยลดอาการทรมานของพวกเขาได้

บทสรุป: การใช้น้ำมัน cannabidiol ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งได้

จากเว็บไซต์ epilepsy.com ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ที่อุดมไปด้วย cannabidiol มีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคลมชัก เนื่องจากช่วยลดความถี่ในการเกิดอาการลมชัก นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า CBD สามารถลดอาการชักได้ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนายา CBD ตัวแรกและตัวเดียวที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA ของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่รู้จักกันในชื่อ Epidiolex ซึ่งใช้รักษาอาการชักที่เกี่ยวข้องกับโรค Lennox-Gastaut (LGS) และ Dravet syndrome

มีผู้ป่วยที่เป็นโรคลมบ้าหมูประมาณ 700,000 คนในประเทศไทย – ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกัญชา (หรือสารสกัด CBD) จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาโรคนี้

  • โรคลมชักและอาการชักเป็นหนึ่งในอาการที่ GPO ระบุไว้ ซึ่งผู้ป่วยโรคเหล่านี้สามารถรับใบสั่งยาสำหรับน้ำมันกัญชาที่มีส่วนผสมของ CBD แบบเข้มข้นได้
  • การศึกษาที่เผยแพร่โดย GPO ในปี 2021 ระบุถึงศักยภาพของกัญชาทางการแพทย์ที่อุดมด้วยสาร CBD ที่ช่วยพัฒนาอาการของเด็กที่เป็นโรคลมชักและมีการดื้อยา
  • การสำรวจผู้ปกครองของเด็กที่เป็นโรคลมชักในประเทศไทยได้ประเมินความรู้และความตระหนักถึงการใช้สาร CBD ในการรักษาอาการชัก ในขณะที่ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองครึ่งหนึ่งที่ใช้ CBD กับลูก ๆ สังเกตเห็นว่าความถี่ในการชักของเด็กลดลง แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าสามารถใช้ CBD กับคนที่เป็นโรคลมบ้าหมูได้

สรุป: การใช้น้ำมัน cannabidiol ภายใต้การดูแลของผู้เชียวชาญสามารถช่วยลดความถี่ในการเกิดอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชัก

แนวโน้มการวิจัยกัญชาในประเทศไทย
แนวโน้มการวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย

อาการอื่น ๆ

นักวิทยาศาสตร์ไทยกำลังศึกษาว่ากัญชาส่งผลต่ออาการอื่น ๆ เช่น อาการนอนไม่หลับ ความเจ็บปวด และความผิดปกติของระบบประสาทอย่างไร และเราได้กล่าวถึงการศึกษาบางส่วนไว้ด้านล่าง:

  • องค์การเภสัชกรรมมีการศึกษานำร่องเกี่ยวกับการใช้สารสกัดกัญชาเพื่อรักษาอาการหดเกร็งของเส้นโลหิตตีบหลายเส้น (MS) และพบว่ามีผลทำให้อาการดีขึ้น
  • ในกรณีศึกษาที่คล้ายกัน ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่โรงพยาบาลสกลนครได้ใช้น้ำมัน THC: CBD (1:1) เป็นระยะเวลาสามเดือน ผลลัพธ์ที่ได้คือการนอนหลับที่ดีขึ้นและมีคุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้น
  • ในกรณีเรื่องปัญหาการนอนหลับ การศึกษาหนึ่งระบุถึงการใช้ศุขไสยาศน์ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาแบบธรรมชาติของไทยที่ได้มาจากกัญชา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและสภาการแพทย์แผนไทยได้แนะนำให้ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับใช้ศุขไสยาศน์ การศึกษาสรุปได้ว่ายากัญชาทางเลือกแบบดั้งเดิมนี้สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับให้ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามอาจเกิดผลข้างเคียงการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้
  • ในกรณีคล้ายกัน ผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย ระบุว่า ชาที่ผสมกัญชาซึ่งมีความเข้มข้นระหว่าง 5 ถึง 7% โดยน้ำหนัก สามารถช่วยให้มีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นได้
  • จากที่เห็นได้ขณะนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเฉพาะเพื่อประเมินประโยชน์ของกัญชาในการรักษาอาการเจ็บปวด อย่างไรก็ตาม นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่พบบ่อยที่สุดในหมู่ผู้คนที่ใช้กัญชา ซึ่งได้แรงหนุนจากการศึกษาในต่างประเทศและหลักฐานปากต่อปากเป็นส่วนใหญ่ หรือสรุปได้ว่าสามารถใช้กัญชาช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้

สรุป: การใช้กัญชาทางการแพทย์ภายใต้การดูแลชองผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยพัฒนาการนอนหลับ อาการเจ็บปวด และคุณภาพชีวิตโดยรวมให้ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ล่วงหน้า

บทสรุป

ทุกการศึกษา งานวิจัย และข้อมูลที่มี จะช่วยให้มีแนวทางในการตัดสินใจที่จะใช้กัญชาให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับอาการต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ได้มีการตีพิมพ์บทความในวารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นคำแนะนำสำหรับผู้ให้บริการพยาบาลที่ทำงานกับผู้ป่วยที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ แบ่งออกเป็นสี่ส่วน ครอบคลุมพื้นฐานของกัญชาทางการแพทย์ ผลข้างเคียง กรณีการใช้งาน การบริหารยากัญชา และจรรยาบรรณ เพื่อช่วยวางแนวปฏิบัติทางการพยาบาลและปรับปรุงความรู้เรื่องกัญชาในหมู่พยาบาลและผู้ให้บริการด้านการแพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มหันมาใช้กัญชาในการรักษาโรค

บทความที่กล่าวถึงนี้เป็นเพียงส่วนน้อยในโลกของการวิจัยที่เกี่ยวกับกัญชาซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ผลที่ตามมาคือ ความต้องการผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยได้แรงหนุนจากความรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับกัญชา งานวิจัย และการสนับสนุนกัญชาทางการแพทย์ของรัฐบาล

หากงานวิจัยและการศึกษาเหล่านี้กระตุ้นให้คุณสนใจที่จะลองใช้กัญชาทางการแพทย์ คุณสามารถหาดูร้านจำหน่ายกัญชาชั้นนำทางออนไลน์ได้