กัญชาทางการแพทย์และมะเร็ง: กัญชารักษามะเร็งได้จริงหรือ

Admin
Written by Review Weed Cannabis & Health Enthusiast
Updated: 2024-01-11
กัญชาทางการแพทย์และศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็ง

Table of Contents

กัญชาทางการแพทย์ได้รับการศึกษามานาน เพื่อที่จะใช้จัดการกับอาการของมะเร็งและผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น เคมีบำบัด

การวิจัยแสดงให้เห็นว่ากัญชามีศักยภาพในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ ช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้, เบื่ออาหาร, ปวดเรื้อรัง และการอดนอน

แต่ทั้งนี้ จะรักษามะเร็งได้หรือไม่นั้น ก็ยังคงมีคำถามที่แตกต่างไป จากการศึกษาในสัตว์และในห้องปฏิบัติการ แสดงให้เห็นว่า สารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) มีคุณสมบัติต้านการเกิดเนื้องอก สามารถชะลอการเจริญเติบโต และกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็ง ผลลัพธ์เหล่านี้ยังไม่ได้รับการศึกษามากเท่าไหร่นักในการทดลองทางคลินิกในมนุษย์

ในบทความนี้ เราจะมาดูแนวโน้มการวิจัยของโรคมะเร็งและกัญชา พร้อมวิธีที่ผู้ป่วยมะเร็งควรใช้กัญชา เพื่อวิธีบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ดีที่สุด

มะเร็งและกัญชา: มุมมองทางวิทยาศาสตร์

กว่า 40 ปีของการวิจัย ได้มุ่งเน้นไปที่กลไกของสาร cannabinoids และสารประกอบของกัญชาอย่าง terpenes ที่ส่งผลต่อสัญญาณของมะเร็งในร่างกายอย่างไร

เราได้สรุปข้อค้นพบที่สำคัญที่สุดไว้ให้แล้วตามนี้

ความสามารถในการต้านมะเร็งของกัญชา: ต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง

การวิจัยที่ดำเนินการในห้องปฏิบัติการ (ในหลอดทดลอง) และในสิ่งมีชีวิต (ในร่างกาย) ได้แสดงให้เห็นว่า cannabinoids สามารถจัดการกับสัญญาณสำคัญของการพัฒนาของมะเร็ง รวมถึงการเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงต้านการอักเสบ, การต่อต้านการตายของเซลล์ และความสามารถของเซลล์มะเร็งในการรุกรานเนื้อเยื่อใกล้เคียง ช่วยสร้างหลอดเลือดใหม่ และแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

Cannabinoids สามารถกระตุ้นการตายของเซลล์ซึ่งเป็นโปรแกรมการตายของเซลล์ตามธรรมชาติรวมถึงเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งกัญชามีส่วนช่วยในการยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้

ในปี 2022 ได้มีการรีวิวที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cancers ได้ตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์เหล่านี้ด้วยการดูข้อมูลการวิจัยอย่างรอบคอบ สถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกายังให้ข้อมูลเชิงลึกว่า THC และ CBD ให้ผลในการต้านมะเร็งได้อย่างไร    

การต่อสู้กับมะเร็งชนิดต่าง ๆ

การทดลองและการทดสอบในห้องปฏิบัติการได้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่ายินดีว่า cannabinoids ให้ผลในการต้านมะเร็งต่อมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้อย่างไร สิ่งเดียวกันนี้ระบุไว้ในรายงานปี 2020 เรื่อง ‘ศักยภาพในการต้านมะเร็งของ Cannabinoids, Terpenes และ Flavonoids ที่มีอยู่ในกัญชา’

มะเร็งเต้านม

การศึกษาพบว่า cannabinoids บางชนิด เช่น THC และ CBD อาจแสดงผลต้านมะเร็งต่อเซลล์มะเร็งเต้านมได้ โดยพวกมันจะทำหน้าที่ขัดขวางการเพิ่มจำนวนเซลล์, กระตุ้นการตายของเซลล์ (การตายของเซลล์) รวมถึงยับยั้งการย้ายถิ่นและการบุกรุกของเซลล์มะเร็ง จากข้อมูลของ BreastCancer.org มีรายงานว่ากัญชาช่วยลดผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งเต้านมแบบดั้งเดิมได้ เช่น อาการคลื่นไส้และความเจ็บปวดที่เกิดจากการทำเคมีบำบัด

มะเร็งปอด

จากการศึกษาในระยะก่อนมีอาการ (Preclinical) ได้ระบุว่า cannabinoids อาจมีผลในการต้านมะเร็งปอด พวกเขามีศักยภาพในการลดการเจริญเติบโตของเนื้องอกและยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ กัญชายังอาจมีคุณสมบัติที่ช่วยขยายหลอดลม ช่วยปรับปรุงการทำงานของปอดและบรรเทาอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดได้อีกด้วย

มะเร็งลำไส้ใหญ่

Cannabinoids แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยพบว่าทำให้เกิดการตายของเซลล์และขัดขวางการก่อตัวของหลอดเลือดที่รองรับการเจริญเติบโตของเนื้องอก การศึกษาบางชิ้นยังระบุกอีกว่า cannabinoids อาจเสริมฤทธิ์กันเมื่อใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่แบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มผลต้านมะเร็ง

มะเร็งต่อมลูกหมาก

การวิจัยระบุว่า cannabinoids อาจมีฤทธิ์ต้านการเพิ่มจำนวน (ยับยั้งการเจริญเติบโต) และให้ผลการตายของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้ ด้วยการยับยั้งการเติบโตของเซลล์, กระตุ้นการตายของเซลล์ที่กำลังแพร่กระจาย และหยุดการแพร่กระจายได้

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

การศึกษาแสดงให้เห็นว่า cannabinoids หากทานเดี่ยว ๆ หรือร่วมกัน จะช่วยลดการเจริญเติบโตของเนื้องอกและทำให้เกิด apoptosis (การทำลายตัวเองของเซลล์) ในเซลล์มะเร็งผิวหนังได้ เนื่องจากเซลล์เมลาโนมามีตัวรับ CB1 และ CB2 (อยู่ในระบบเอนโดแคนนาบินอยด์) และการเปิดใช้งานด้วยโมเลกุล เช่น CBD และ THC อาจทำให้การเจริญเติบโตและการแพร่กระจายลดลงได้

ผลในเชิงบวกที่คล้ายกันของ cannabinoids นี้ ยังพบได้ในรูปแบบมะเร็งอื่น ๆ อีก เช่น มะเร็งสมอง, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, เนื้องอกสมองกลิโอมา, มะเร็งรังไข่ และมะเร็งตับอ่อน

วิธีบรรเทาอาการ: เพิ่มการดูแลแบบประคับประคอง

กัญชาทางการแพทย์ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ชัดเจนในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

กัญชาทางการแพทย์ สามารถช่วยในเรื่องความเจ็บปวด อาการคลื่นไส้ ความอยากอาหาร การนอนหลับ และอารมณ์ได้
กัญชาทางการแพทย์และโรคมะเร็ง – สรุปคุณประโยชน์หลักของกัญชา

ผู้ป่วยจำนวนมากทั่วโลกใช้กัญชา เพื่อให้นอนหลับได้ดีขึ้น, บรรเทาอาการปวด และจัดการกับอาการของโรคมะเร็งและการรักษามะเร็ง เช่น เคมีบำบัด

สิ่งนี้ได้ถูกนำไปทดสอบโดยนักวิจัยไทยในปี 2021 การศึกษานี้ได้ศึกษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาโดยใช้กัญชาจากโรงพยาบาล 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของพวกเขากับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มยากัญชามีคะแนนคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มอื่น

และนี่คือ 4 วิธีที่กัญชาสามารถช่วยให้การดูแลอาการแบบประคับประคองได้

คลื่นไส้และอาเจียน

ในสหรัฐอเมริกา ยา cannabinoid 2 ชนิด ได้แก่ dronabinol และ nabilone ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาในการรักษาอาการอาเจียนและคลื่นไส้ที่เกิดจากคีโม โดยให้กับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐานได้

ในประเทศไทย องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้อนุมัติน้ำมันกัญชา 4 ประเภท สำหรับผู้ป่วยที่ต่อสู้กับโรคมะเร็ง สารสกัดเหล่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อรักษามะเร็งแต่เพื่อช่วยบรรเทาอาการ

ความอยากอาหาร

เป็นที่ทราบกันดีว่า กัญชาทำให้เกิดความอยากอาหาร แม้ว่าการศึกษาที่ตีพิมพ์น้อยมากที่มุ่งเน้นไปที่กัญชาและความอยากอาหารลดลงในผู้ป่วยมะเร็ง แต่ผู้ป่วยจำนวนมากมักใช้กัญชาเพื่อเพิ่มความอยากอาหารมากกว่า

การนอนหลับและความเจ็บปวด

ความเชื่อมโยงระหว่างกัญชาทางการแพทย์กับการนอนหลับนั้นมีมานานมาก ๆ แล้ว มนุษย์ใช้กัญชาเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้นมานับพันปี โดยมีการศึกษามากมายที่อธิบายถึงวิธีการทำงาน

ในทำนองเดียวกัน ความเจ็บปวดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้คนใช้ยากัญชา การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า cannabinoids ส่งผลต่อเส้นทางการส่งสัญญาณความเจ็บปวดในร่างกาย ซึ่งนำไปสู่การลดความเจ็บปวดได้ นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านการอักเสบที่ดีเยี่ยม ทำให้มีประโยชน์ในการบรรเทาอาการปวด ตัวอย่างเช่น nabaximols (ชื่อแบรนด์ Sativex) เป็นกลุ่มยาที่บรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็งมักมีอาการนอนไม่หลับและมีอาการปวดมากขึ้น แม้ว่ากัญชาจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้

ความวิตกกังวลและความเครียด

กัญชาสามารถช่วยให้ผู้คนจัดการกับโรคมะเร็งได้ดีขึ้น กัญชาแสดงให้เห็นถึงความหวังในการลดความวิตกกังวลและความเครียดได้ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและปรับปรุงมุมมองโดยรวมของพวกเขา

โปรดทราบว่าประสิทธิภาพของกัญชาทางการแพทย์ขึ้นอยู่กับปริมาณ, การเผาผลาญของบุคคล, ปัจจัยทางพันธุกรรม, สภาวะ และประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ใช้

การใช้กัญชาเกรดยาสำหรับมะเร็ง: สิ่งที่ควรรู้

กัญชาไม่ได้รักษามะเร็งให้หายขาดได้

ที่ Weed Review เราต้องการย้ำว่าหากคุณวางแผนที่จะเพิ่มกัญชาทางการแพทย์ในแผนการรักษามะเร็ง แนะนำให้ปรึกษากับแพทย์ก่อน มีคลินิกและโรงพยาบาลที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ที่ถูกกฎหมายมากมาย ที่เชี่ยวชาญมากพอในการแนะนำผลิตภัณฑ์และปริมาณที่เหมาะสมตามความต้องการของคุณ

มีผลิตภัณฑ์กัญชาอยู่ 3 ชนิดที่อาจใช้เพื่อบรรเทาอาการได้ มีดังนี้:

  • อาหารผสมกัญชาและกัมมี่: รายการอาหารที่ผสมกัญชา เช่น กัมมี่, ลูกอม และบราวนี่มีอยู่ทั่วไปในร้านขายยา เหล่านี้จะมีปริมาณกัญชาในปริมาณมาตรฐานและใช้เวลาระหว่าง 45 นาทีถึง 2 ชั่วโมงในการออกฤทธิ์  ซึ่งฤทธิ์ของมันจะคงอยู่เป็นเวลา 4-6 ชั่วโมง จึงทำให้เป็นทางออกที่ดีสำหรับการบรรเทาอาการที่เผชิญมาอย่างยาวนาน
  • ทิงเจอร์และน้ำมัน: น้ำมัน CBD และสารสกัดน้ำมัน THC ก็มีให้เช่นกัน โดยอมไว้ใต้ลิ้น 2-3 หยด ค้างไว้ 60 วินาทีแล้วกลืน มันจะออกฤทธิ์ภายใน 15-30 นาที และคงอยู่ได้นาน 3-4 ชั่วโมง ทิงเจอร์ cannabidiol คุณภาพสูงมีเกรดยาที่สูงขึ้นเนื่องจากมาตรการคุณภาพที่เข้มงวด เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เราแนะนำให้เลือกใช้สูตรที่มี GPO ผนวกกับหลังจากที่ได้ปรึกษากับแพทย์แล้ว
  • ดอกกัญชา: สายพันธุ์กัญชาที่มี Terpenes (เทอร์ปีน) และ Cannabinoid (แคนนาบินอยด์) ที่แตกต่างกันก็มีจำหน่ายเช่นกัน ผลกระทบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณ CBD, THC หรือ terpenes คุณสามารถรมควัน ทำไอระเหย หรือปรุงเป็นของกินได้ แต่ปริมาณที่ใช้อาจไม่ถูกต้อง

เลือกผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการของบุคคลที่สาม, มีการีวิวที่ดี และคำนึงถึงชื่อเสียงของแบรนด์ เพื่อการได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

การสูบกัญชาทำให้เกิดมะเร็งหรือไม่

ยังไม่ได้มีรายงานชัดเจนว่าการสูบกัญชาเป็นประจำทำให้เกิดมะเร็งปอดเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่หรือไม่ ซึ่งเป็นเพราะการขาดการวิจัยในมนุษย์

และนี่คือ 4 สิ่งที่ควรรู้:

  • หลายคนเติมใบยาสูบลงในกัญชา เพื่อให้เผาไหม้ได้ดีขึ้น การบริโภคยาสูบ ‘ทางอ้อม’ นี้สามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้
  • ควันกัญชายังมีสารก่อมะเร็งซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดเดียวกับที่พบในยาสูบ
  • ผู้ที่สูบกัญชาจะมีควันอยู่ในปอดนานกว่า เมื่อเทียบกับผู้สูบบุหรี่ทั่วไป
  • ควันกัญชาสามารถนำไปสู่ปัญหาระบบทางเดินหายใจและอาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อในปอดได้

แนวโน้มที่กล่าวไปข้างต้นนี้ อาจพบได้ในนผู้ที่สูบกัญชาอย่างหนักและเรื้อรัง

หากคุณสูบกัญชาเป็นประจำและกำลังวางแผนที่จะใช้กัญชาเพื่อรักษามะเร็ง โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่ดีที่สุดก่อน

ผลข้างเคียงที่ควรรู้

การเสพกัญชามีผลข้างเคียง คุณสามารถดูรายการทั้งหมดได้ที่นี่

สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในกัญชาอย่าง THC สามารถทำให้เกิดผลระยะสั้นหลายอย่าง เช่น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น, ปากแห้ง, คลื่นไส้, ปวดศีรษะ, เพิ่มความไวต่อสิ่งรอบข้าง และจิตใจที่ฟุ้งซ่าน สิ่งเหล่านี้มักจะจางหายไปภายใน 30-45 นาที หลังจากถึงจุดสูงสุดที่เรียกว่า ‘ไฮ’

การใช้กัญชาในระยะยาวและเรื้อรัง สามารถนำไปสู่การติด/พึ่งพาสารเสพติดได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดปัญหาการหายใจ (หากสูบบุหรี่) ส่งผลต่อการทำงานของสมอง และอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะพบกับผู้ที่ใช้ THC

CBD เป็นสารเคมีที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในกัญชา ถือว่าปลอดภัยกว่ามากและโดยทั่วไปคนส่วนใหญ่มักจะทนได้ดีกว่า

สิ่งที่ควรรู้อีกประการหนึ่งคือ ปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นกับกัญชา Cannabinoids สามารถรบกวนการทำงานของยา โดยส่งผลผ่านไปยังเอนไซม์ตับ สิ่งนี้สามารถเปลี่ยนความเข้มข้นของยาในร่างกายของคุณ ซึ่งนำไปสู่อาการไม่พึงประสงค์ได้ หากคุณกำลังใช้ยาเคมีบำบัดหรือยาต้านมะเร็งอื่น ๆ กรุณาปรึกษาแพทย์ก่อนเพิ่มสาร CBD หรือ THC ในแผนการใช้ประจำวัน

หากเริ่มใช้กัญชาเป็นประจำ เพื่อจัดการกับอาการมะเร็ง ควรคำนึงถึงภาพระยะยาว การใช้ CBD:THC ในอัตราส่วนที่เหมาะสม สามารถบรรเทาผลข้างเคียงเหล่านี้ได้มากทีเดียว และยังสามารถป้องกันการพึ่งพาได้อีกด้วย เราอาจพอรู้กันดีว่า ผู้ป่วยจำนวนมากจะใช้ยาไปตลอดชีวิต ดังนั้น กัญชาทางการแพทย์จึงสามารถเพิ่มเข้าไปในการใช้ในชีวิตประจำวันได้ ภายใต้การดูแลของแพทย์

บทสรุป

กัญชาได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นอาหารเสริมที่มีคุณค่าในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง การศึกษาในห้องปฏิบัติการและในสัตว์แสดงให้เห็นว่า cannabinoids สามารถกระตุ้นการตายของเซลล์และยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง รวมถึงการแพร่กระจายในรูปแบบมะเร็งต่าง ๆ

สิ่งที่จำเป็นในตอนนี้คือ การทดลองทางคลินิกกับมนุษย์ นักวิจัยก็กําลังพิจารณาตรวจสอบผลลัพธ์ที่มีแนวโน้มเหล่านี้ในหุ่นจําลอง

ขณะเดียวกัน เรารู้ว่ากัญชาสามารถช่วยจัดการกับอาการของโรคมะเร็งและการรักษาที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งได้ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งมันหมายถึง การนอนหลับที่ดีขึ้น, ความเจ็บปวดน้อยลงล ความอยากอาหารมากขึ้น และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่าผลกระทบเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปริมาณ, ประเภทของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนพันธุกรรม และชีววิทยาส่วนบุคคลของคุณด้วยเช่นกัน

เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์ ล่วงหน้า เพื่อดูว่าการใช้กัญชาเป็นยา สามารถช่วยฟื้นฟูสุขภาพหลังการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างไร