ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ในร่างกาย: ECS คืออะไร และมีหน้าที่ทำอะไร

Admin
Written by Review Weed Cannabis & Health Enthusiast
Updated: 2023-09-29
พื้นฐานของระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ของมนุษย์

Table of Contents

‘ถ้าพระเจ้าไม่ต้องการให้เรามีความสุขกับการใช้กัญชาจริงๆ แล้วทำไมร่างกายถึงมีระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ล่ะ’

ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (ECS) ถูกค้นพบในช่วงปี 1990 ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการควบคุมในร่างกายที่คอยดูแลให้ทุกอย่างทำงานได้เป็นปกติ หน้าที่ของระบบนี้คือการปรับสมดุลความรู้สึก เช่น อาการปวด ความหิว ความสุข และอารมณ์ ระบบ ECS ได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยสารเคมีที่มีชื่อว่า สารกลุ่มเอนโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งผลิตอยู่ภายในร่างกาย

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ สารกลุ่มเอนโดแคนนาบินอยด์ในกัญชาอย่าง delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) มีปฏิกิริยากับระบบ ECS เหมือนเอนโดแคนนาบินอยด์ นี่คือเหตุผลที่กัญชาขึ้นชื่อในเรื่องของการกระตุ้นความหิว ลดอาการปวด และอื่นๆ

ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจเกี่ยวกับหลักการทำงานของ ECS รวมถึงวิธีที่กัญชาส่งผลกระทบต่อร่างกาย

อธิบายระบบ ECS แบบเข้าใจง่าย

ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์คือระบบสื่อประสาท ทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้กับเซลล์ทั่วร่างกาย หน้าที่หลักคือการรักษาภาระธำรงดุล (homeostasis) เพื่อให้เกิดความสมดุลและการทำงานร่วมกันของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ร่างกายของคุณจะทำงานได้ดีต่อสุขภาพเมื่อกระบวนการทางชีววิทยาหลายส่วนทำงานประสานกันเพื่อให้คุณมีชีวิตได้ต่อไป ระบบ ECS คือผู้คุมหลักที่คอยดูแลกระบวนการทำงานเหล่านี้ทั้งหมด เมื่อมีอะไรที่ขาดสมดุลไป ระบบ ECS จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น:

  • ระบบ ECS เพิ่มอุณหภูมิร่างกายเมื่อคุณป่วยเพื่อฆ่าปรสิต เมื่อปรสิตเหล่านี้ถูกกำจัดแล้ว อุณหภูมิร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติดังเดิม
  • เมื่อคุณบาดเจ็บหรือรู้สึกเจ็บปวด ECS จะส่งสัญญาณให้ร่างกายหลั่งเอนโดแคนนาบินอยด์เพื่อควบคุมอาการปวดและการอักเสบ เมื่อคุณฟื้นตัวแล้ว ระบบ ECS จะส่งสัญญาณไปให้เอนไซม์กำจัดเอนโดแคนนาบินอยด์ที่ไม่ได้ใช้งาน

ฟังก์ชันการทำงานของระบบ ECS ครอบคลุมกิจกรรมทางด้านร่างกายมากมาย ได้แก่:

  • ความรู้สึกเจ็บปวด: ปรับความรู้สึกรับรู้ความเจ็บปวดและช่วยลดอาการปวดเรื้อรัง ปวดประสาท และอาการอักเสบ
  • ภูมิคุ้มกัน: ช่วยควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดอาการอักเสบและทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
  • อารมณ์: ดูแลการหลั่งของสารสื่อประสาท เช่น โดปามีนและเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารที่ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์
  • ความอยากอาหาร: ช่วยควบคุมความอยากอาหารและปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไป ทำให้คุณสามารถรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ
  • การนอนหลับ: ช่วยปรับสมดุลวงจรการนอนหลับ ทำให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น
  • การทำงานของหลอดเลือดหัวใจ: ควบคุมการทำงานของหลอดเลือดหัวใจผ่านการดูแลเรื่องความดันเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และการไหลเวียนของเลือด
  • การสืบพันธุ์และการเจริญพันธุ์: ช่วยดูแลการผลิตฮอร์โมนทางเพศและการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ให้เหมาะสม
  • ความทรงจำและการเรียนรู้: ปรับกระบวนการสร้างและดึงความทรงจำออกมาใช้

นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเชื่อว่า ECS มีโอกาสทำงานผิดปกติหรือขาดความสมดุลเนื่องจากปัจจัยทั่วไปและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ส่งผลให้เกิดโรคติดต่อและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา เหตุการณ์นี้รู้จักกันในชื่อ การขาดระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ทางคลินิก (CECD) ซึ่งเป็นโรคที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยกัญชา ด้วยความที่ระบบ ECS มีบทบาทสำคัญมากมาย ส่งผลให้โรคอื่น ๆ อาจเป็นปัจจัยของการเกิด CECD ด้วยเช่นกัน แต่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

นี่คือเหตุผลที่หลายคนเชื่อกันว่าการใช้กัญชาทั้งแบบ THC ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือ CBD ที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท คือวิธีหนึ่งในการช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม กัญชาไม่ใช่สิ่งที่แก้ไขปัญหาได้ทุกอย่างเพราะเป็นเพียงส่วนเสริมกับวิธีการรักษาแผนปัจจุบันเท่านั้น ทีมงาน Weed Review ขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้ปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการใช้กัญชาร่วมกับแผนการรักษา

ส่วนต่าง ๆ ในระบบเอนโดแคนนาบินอยด์

ระบบ ECS ประกอบด้วยสามส่วนหลัก ๆ ได้แก่ เอนโดแคนนาบินอยด์ ตัวรับ และเอนไซม์

แผนภาพแสดงตัวรับต่าง ๆ ในระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ของมนุษย์
ตัวรับต่าง ๆ มีการกระจายการทำงานอย่างไรใน ESC

เอนโดแคนนาบินอยด์

เอนโดแคนนาบินอยด์คือโมเลกุลที่ผลิตภายในร่างกายตามธรรมชาติ สารเหล่านี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ที่พบในพืช แตกต่างกันเพียงแค่วิธีการผลิตเท่านั้น

สารเอนโดแคนนาบินอยด์สองตัวที่ได้รับความสนใจพิเศษ ได้แก่ anandamide (AEA) และ 2-arachidonoylglyerol (2-AG)

  • Anandamide หรือ “โมเลกุลแห่งความสุข” ดูแลเรื่องความรู้สึกเจ็บปวด อารมณ์ ความอยากอาหาร และความทรงจำ
  • 2-Arachidonoylglycerol (2-AG) ดูแลเรื่องการทำงานของภูมิคุ้มกัน ความรู้สึกเจ็บปวด ความอยากอาหาร และการนอนหลับ

สารเอนโดแคนนาบินอยด์ทั้งหมดตัวนี้ผลิตขึ้นมาได้ทุกเมื่อที่ร่างกายต้องการ

ตัวรับ

เอนโดแคนนาบินอยด์ส่งผลให้เกิดการตอบสนองด้วยการจับเข้ากับโมเลกุลโปรตีนที่เรียกว่า ตัวรับ โดยตัวรับมีอยู่สองประเภทหลัก ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษากันอย่างละเอียด ได้แก่ CB1 และ CB2

  • ตัวรับ CB1 พบในระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก แต่ก็พบในสมองและไขสันหลังด้วย ตัวรับเหล่านี้ดูแลเรื่องการทำงานทั่วไปอย่างอาการปวด อารมณ์ ความหิว และการนอนหลับ
  • ตัวรับ CB2 พบในระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทส่วนปลายเป็นส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่ช่วยลดการอักเสบและปรับการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบตัวรับอื่น ๆ อย่าง GPR55, GPR18, TRPV1 และ GPR119 ซึ่งยังคงอยู่ระหว่างการศึกษาอยู่ ซึ่งตัวรับเหล่านี้มีอยู่ทั่วร่างกาย

เอนไซม์

เมื่อเอนโดแคนนาบินอยด์ทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว สารเหล่านั้นจะถูกกำจัด/ย่อยโดยเอนไซม์ เอนไซม์ที่เราพูดถึงนี้มีอยู่สองประเภทด้วยกัน ได้แก่:

  • Fatty acid amide hydrolase (FAAH): รับผิดชอบในการเผาผลาญ anandamide
  • Monoacylglycerol lipase (MAGL): รับผิดชอบในการเผาผลาญ 2-arachidonoylglycerol (2-AG)

เมื่อควบคุมการทำงานของเอนไซม์นี้ได้ เราก็จะเพิ่มระดับเอนโดแคนนาบินอยด์ในร่างกาย ส่งผลให้เกิดผลการรักษาสำหรับโรคต่างๆ

คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ได้จากบทความทบทวนที่นี่

THC มีปฏิกิริยากับร่างกายอย่างไร

THC คือสารประกอบที่ทำให้คุณรู้สึกมึนเมาด้วยการจับเข้ากับตัวรับ CB1 และ CB2

เนื่องจากตัวรับเหล่านี้มีอยู่ในสมองและร่างกาย THC จึงก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีต่อเนื่องด้วยการ ‘เข้าควบคุม’ ร่างกายของคุณ

  • THC ทำให้สมองมีระดับโดปามีนเพิ่มขึ้น ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น กลไกนี้คืออีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เราอาจเสพติดกัญชาได้
  • ลดอาการปวดด้วยการจับกับตัวรับ CB1 ในระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยลดการปล่อยสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด ส่งผลให้เกิดสรรพคุณที่ว่ากัญชาสามารถลดอาการปวดได้
  • THC สามารถกระตุ้นความอยากอาหารและอารมณ์ด้วยการจับเข้ากับตัวรับ CB1 ในบริเวณไฮโปทาลามัสและอะมิกดาลาในสมอง

สารแคนนาบินอยด์ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทตัวนี้อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกถึงผลข้างเคียง เช่น ความหวาดระแวง อาการวิตกกังวล และกระวนกระวาย นี่คือเหตุผลที่ผลของกัญชาจึงแตกต่างกันออกไปตามแต่ละคน และขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น พันธุกรรม การทนยาของร่างกาย ความไวต่อสาร น้ำหนัก ปริมาณยา เป็นต้น

เนื่องจาก THC เป็นสารที่มีความแรง การใช้งานในระยะยาวอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์

CBD มีปฏิกิริยากับร่างกายอย่างไร

Cannabidiol คือสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่ไม่ทำให้เกิดความมึนเมาในกัญชา นั่นเป็นเพราะวิธีที่ CBD ใช้เพื่อจับกับตัวรับ CB1 และ CB2

CBD ไม่ได้กระตุ้นตัวรับเหมือนกับ THC แต่เป็นการปรับเปลี่ยนและดูแลการทำงานของตัวรับแทน

  • CBD สามารถลดอาการมึนเมาที่เกิดจาก THC ด้วยการควบคุมสัญญาณที่ถูกกระตุ้นจากการจับกับตัวรับของ THC นี่คือเหตุผลที่บางคนเชื่อว่า CBD สามารถต้านกับผลกระทบของ THC และลดความมึนเมาได้
  • Cannabidiol สามารถเพิ่มระดับของสารเอนโดแคนนาบินอยด์ในร่างกายอย่าง anandamide ผ่านการป้องกันไม่ให้เอนไซม์ย่อยสลายสารดังกล่าว ส่งผลให้สารเอนโดแคนนาบินอยด์สามารถอยู่ในร่างกายและทำหน้าที่ได้ยาวนานขึ้น
  • นอกจากนี้ CBD ยังเพิ่มการส่งสัญญาณของตัวรับ CB2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบและการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

สิ่งเหล่านี้คือเหตุผลที่ทำให้ cannabidiol มีสรรพคุณด้านการบำบัดที่หลากหลาย รวมถึงเป็นเหตุผลที่หลายประเทศอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะ CBD และสั่งห้ามไม่ให้ใช้ THC

การคาดการณ์ถึงอนาคต

ยังมีอีกหลายสิ่งที่เราไม่รู้เกี่ยวกับระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ เมื่อเราค้นพบเกี่ยวกับระบบนี้มากขึ้นก็จะส่งผลให้เราเข้าใจร่างกายมนุษย์มากขึ้น รวมถึงทำให้วิธีการใช้งานและประสิทธิภาพของกัญชาทางการแพทย์ในการรักษาโรคต่าง ๆ ดีขึ้น

จากสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับ ECS ในตอนนี้ บางคนอาจบอกว่ามนุษย์ถูกสร้างมาให้ใช้กัญชา อย่างน้อยพืชกัญชาก็สามารถช่วยทำให้การทำงานของร่างกายดีขึ้นได้ แต่ต้องใช้อย่างมีความรับผิดชอบด้วย

หากคุณสนใจว่ากัญชาสามารถทำอะไรได้บ้าง คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกัญชาได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ของ Weed Review