กัญชาเพื่อการแพทย์แผนไทย: จากผู้ร้ายสู่พืชถูกกฎหมาย
Table of Contents
พืชกัญชามีประวัติอันยาวนานในประเทศไทย และที่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การเป็นพืชที่ถูกใช้ในตำรับแพทย์แผนไทยมาอย่างช้านาน
ในขณะที่อุตสาหกรรมกัญชาทางการแพทย์กำลังเติบโตขึ้นจากการมีกฎหมายสนับสนุนกัญชา ทำให้ผู้คนจำนวนมากเริ่มหันมาสนใจในประโยชน์ของพืชชนิดนี้ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็กำลังพิสูจน์สิ่งที่ผู้คนเคยให้ความสนใจ
โดยส่วนใหญ่แล้ว ความเข้าใจที่ว่านี้เกิดขึ้นจากรากเหง้าของยาแผนโบราณ ซึ่งเราจะมาเจาะลึกอย่างละเอียด ว่ากัญชามีส่วนช่วยในการรักษาโรคในอดีตสำหรับประเทศไทยได้อย่างไร
ประวัติความเป็นมาของกัญชาในประเทศไทย
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นของกัญชาในประเทศไทยมาจากประเทศอินเดีย และเป็นที่น่าสนใจว่า ทั้งสองประเทศนี้ มีการเรียกชื่อพืชชนิดเดียวกันว่า : gancha (กัญชา)
ในทางแพทย์แผนไทย กัญชาเป็นยาที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เช่น อาการเจ็บปวด, อาการอักเสบ และปัญหาในระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม การใช้กัญชาไม่ได้จำกัดวัตถุประสงค์เพื่อการแพทย์เพียงเท่านั้น
เส้นใยของกัญชายังถูกนำมาผลิตสิ่งทอ ผ้าพันมือที่ทำด้วยเส้นใยจากพืชชนิดนี้ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่น ที่นักมวยไทยใช้เพื่อปกป้องมือของพวกเขาจากการต่อสู้ นอกจากนี้ กัญชายังเป็นส่วนผสมที่ได้รับความนิยมในอาหารไทย เช่น ก๋วยเตี๋ยวเรือ ที่ถือเป็นอาหารขึ้นชื่อที่มักมีการปรุงรสด้วยกัญชา
นอกจากใช้เป็นยาและทำอาหารแล้ว กัญชายังถูกนำมาใช้เพื่อการสันทนาการในประเทศไทยด้วย นี่เป็นเพราะความสามารถในการเพิ่มพลังทางจิตวิญญาณ และทำให้จิตใจรู้สึกสงบมากกว่าเดิม
แพทย์แผนไทยเชื่อว่า กัญชามีสรรพคุณทางการรักษาที่สามารถเพิ่มความสุขทางร่างกายและจิตใจได้ ข้อเท็จจริงที่ว่า Thai Landrace Strains (สายพันธุ์แลนด์เรซไทย) ถือเป็นสายพันธุ์ซาติวา บริสุทธิ์ จึงเป็นที่ทราบกันดีว่า สายพันธุ์ดังกล่าวสามารถช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และยกระดับการพักผ่อนทางจิตใจได้ดี
แม้จะเป็นส่วนประกอบที่ทรงคุณค่าทางการแพทย์มานานหลายศตวรรษ แต่กัญชากลับถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายในประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ 1930 ซึ่งสิ่งนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากกระแสต่อต้านยาเสพติดที่แผ่ขยายไปทั่วโลก
การใช้งานกัญชาในประเทศไทยยังคงได้รับความนิยมแม้ว่าจะอยู่ในเงามืด จนกระทั่งกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งในช่วงทศวรรษที่ 1960 ซึ่งเป็นช่วงสงครามเวียดนาม ทหารอเมริกันหลายนายได้เริ่มนำกัญชามาลองใช้งาน และในไม่ช้า การส่งออกกัญชาไปยังประเทศตะวันตกก็กลายเป็นเรื่องจริง ส่งผลให้วงการกัญชาในประเทศไทยเสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมาก และในที่สุดพืชชนิดนี้ก็ถูกเพิ่มเข้าไปในรายการสารเสพติดต้องห้าม
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายเมื่อเร็วๆ นี้ มีผลทำให้กัญชากลับมามีบทบาทในวงการการแพทย์ของประเทศไทยอีกครั้ง
กัญชากับอนาคตทางการแพทย์
ในปี 2019 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของกัญชาในประเทศไทย เนื่องจากพืชชนิดนี้ได้รับการรับรองเพื่อใช้ในทางการแพทย์ การตัดสินใจนี้มาจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่สนับสนุนประโยชน์ทางการรักษาด้วยกัญชา เช่น ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด, แก้โรคนอนไม่หลับ, บรรเทาความเครียดและความวิตกกังวล และรักษาโรคลมบ้าหมู
ในปี 2022 กัญชา กลายเป็นพืชถูกกฎหมายในประเทศไทย หลังจากถูกถอดออกจากรายการยาเสพติด แม้ว่าสถานะทางกฎหมายของกัญชายังคงไม่แน่นอน เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติยังคงเป็นผู้ควบคุมอุตสาหกรรมนี้ แต่ภายใต้ความไม่แน่นอนนี้ ก็เริ่มมีการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น
แพทย์แผนไทยที่มีองค์ความรู้ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคด้วยพืชกัญชา และมีคลินิกกัญชามากมายในประเทศไทยที่ได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งแพทย์เหล่านี้จะใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ (ที่ผ่านการอนุมัติ) เพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย
คลินิกเหล่านี้ ต่างใช้ประโยชน์จากสาร cannabidiol (CBD) และ tetrahydrocannabinol (THC) ทั้งสิ้น
CBD ไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมา (ไม่ทำให้เมา) ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการรักษาที่ให้ประโยชน์ เพื่อบรรเทาอาการปวดเรื้อรังและโรคลมบ้าหมู และช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียดได้ ในขณะเดียวกัน THC ก็ช่วยให้เกิดความสบาย นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย เช่น บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน, บรรเทาอาการปวด และเพิ่มความอยากอาหาร
DTAM ผู้นำด้านกัญชา
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (DTAM) ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (MoPH) โดยมีบทบาทเพื่อพัฒนาการวิจัยกัญชาในประเทศไทยอย่างแท้จริง
DTAM กำลังทำงานเพื่อสำรวจประโยชน์ทางการรักษาที่เป็นไปได้ของกัญชา ผ่านความร่วมมือกับเหล่านักวิจัยจำนวนมาก พวกเขายังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างปลอดภัย รวมไปถึงประสิทธิภาพและสูตรกัญชาที่ได้มาตรฐาน สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์แผนโบราณ
นอกจากนี้ DTAM ยังสร้างกฎระเบียบสำหรับการใช้กัญชาอย่างถูกกฎหมายในประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์กัญชาคุณภาพสูงที่ใช้ในการรักษาโรคได้
นี่คือบทบาทและความพยายามที่ผ่านมาของของ DTAM :
- ในปี 2019 ได้มีการแจกจ่ายยาและตำรับยากัญชา ให้แก่โรงพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์แผนโบราณ
- นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการเผยแพร่และอัปเดตสูตร/ตำรับอาหารที่มีกัญชา เพื่อบรรเทาอาการป่วย
- ในเดือนกรกฎาคม 2022 DTAM มีการเผยแพร่ e-book บนเว็บไซต์ ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาแพทย์แผนไทยด้วยกัญชามากกว่า150 รายการ ในหนังสือที่ชื่อว่า ‘ตำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา’
- นอกจากนี้ DTAM ยังสนับสนุนการค้าขายพืชกัญชงและกัญชา ภายใต้การใช้งานอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ
- องค์กรนี้ทำงานร่วมกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญกัญชาอย่างใกล้ชิด คุณสามารถอ่านข้อมูลสรุปสั้นๆ ของงานวิจัยบางส่วนได้ที่นี่ หรือติดตามวารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้
- DTAM ยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์การเภสัชกรรม (GPO) เพื่อผลิตน้ำมันกัญชาไทย 3 สูตร ซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย
กัญชาทางการแพทย์แผนโบราณ: วิธีใช้
แม้ว่ากฎหมายกัญชาในประเทศไทยจะยังไม่ชัดเจน แต่ผลิตภัณฑ์กัญชาก็เริ่มมีจำหน่ายทั่วไปในร้านขายยาและร้านค้าปลีกทั่วประเทศแล้ว สำหรับผู้ที่ต้องการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชาก่อนใช้งาน
คลินิกกัญชาทางการแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต และดำเนินการโดยแพทย์แผนไทยและผู้เชี่ยวชาญ มีให้บริการทั่วประเทศไทย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องด้วยกัญชา
เมื่อต้องการซื้อผลิตภัณฑ์กัญชา อย่าลืมเลือกแบรนด์ที่มีชื่อเสียง และมีการตรวจสอบผลทางห้องปฏิบัติการจากหน่วยงานภายนอก รวมถึงการมีใบรับรอง เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารปนเปื้อนอย่างแท้จริง
สิ่งสำคัญคือ ต้องระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น และปฏิกิริยาของสาร CBD และ THC ที่อาจจะมีผลต่อยาอื่น ๆ และทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัวและยาที่ใช้เป็นประจำทุกครั้ง
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องเคารพบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและประเพณี เมื่อใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย แม้ว่ากัญชาอาจถูกกฎหมายเมื่อใช้เป็นยา แต่บางคนก็ยังคงมองว่า กัญชาเป็นเพียงสารตัวหนึ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลาย และอาจไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ดังนั้น การเคารพในประเพณีและกฎหมายท้องถิ่น รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาในที่สาธารณะ จึงเป็นสิ่งที่ต้องระลึกไว้อยู่เสมอ
บทสรุป
กัญชา เป็นส่วนประกอบสำคัญของการแพทย์แผนไทยมานานหลายศตวรรษ มีการนำมาใช้เป็นยา, ประกอบอาหาร และเพื่อการสันทนาการอย่างหลากหลาย แม้จะถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายในช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่การเปลี่ยนแปลงกฎหมายไทยล่าสุด ได้อนุญาตให้มีการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์อย่างถูกกฎหมายแล้ว
การรักษานี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ เช่น DTAM ซึ่งถือเป็นผู้นำในการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรค และเป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
หากคุณสนใจที่จะทดลองผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ลองศึกษาคู่มือฉบับสมบูรณ์ของเราเกี่ยวกับน้ำมัน CBD ที่ดีที่สุดในประเทศไทยเพิ่มเติมได้