ความทนต่อ CBD: เมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายจะใช้ประโยชน์จาก Cannabidiol ได้น้อยลงหรือไม่

Admin
Written by Review Weed Cannabis & Health Enthusiast
Updated: 2023-09-29
อาการดื้อต่อ Cannabidiol

Table of Contents

ผู้ใช้กัญชามักจะรับรู้ได้ว่า ร่างกายของตัวเองสามารถทนต่อกัญชาได้มากเพียงใด ซึ่งมีผลทำให้เมื่อเวลาผ่านไป จำเป็นต้องใช้กัญชาให้มากขึ้น เพราะร่างกายไม่ไวต่อกัญชาเท่าเดิม แต่สาร Cannabidiol เป็นเช่นนี้ด้วยหรือไม่?

CBD ไม่ได้ทำให้คุณมึนเมาหรือเสพติด จึงไม่ค่อยมีใครรับรู้เกี่ยวกับความทนทานของมัน แต่บางคนก็บอกว่า มันอาจนำไปสู่อาการทนแบบผกผัน (Reverse Tolerance) ในขณะที่บางคนก็เชื่อว่า ร่างกายของเราจะเกิดความเคยชินกับ CBD ได้เช่นกัน

บทความนี้จะตรวจสอบลักษณะสำคัญของอาการทนต่อสาร Cannabidiol นอกจากนี้ เราจะศึกษาด้วยว่า สิ่งนี้มีผลต่อการรักษาด้วย CBD อย่างไร

อาการทน (tolerance) คืออะไร

อาการทน (tolerance) เป็นสถานการณ์ที่ร่างกายต้องการสาร ๆ หนึ่งในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อให้รับรู้ถึงผลกระทบหรือความรู้สึกที่เท่ากับที่เคยได้รับ ทั้งนี้ เวลาที่เราทานอะไรเป็นประจำ ร่างกายจะค่อย ๆ ชินกับการมีอยู่ของมัน และปรับตัวตามสิ่งนั้น ๆ จนกลายเป็นการทำงานของร่างกายในรูปแบบใหม่ ร่างกายจะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้น และรักษาให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งนำไปสู่ความต้องการในปริมาณที่สูงขึ้น

ซึ่งสาร Cannabinoids ก็มีหลักการเช่นเดียวกัน

การทนต่อสาร Cannabinoid

THC เป็นสารเคมีหลักในกัญชาที่ทำให้เกิดความมึนเมา โดยเมื่อมันเข้าจับกับตัวรับ CB1 และควบคุมร่างกาย ก็จะทำให้ ‘มึนเมาหรือไฮ’ ได้ในที่สุด

เมื่อคุณสูบกัญชาเป็นประจำ ตัวรับ CB1 จะเริ่มชินกับ THC และทำให้รับความรู้สึกจาก THC ได้น้อยลง ระบบ Endocannabinoid (ECS) จะจัดการกับ THC ได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เมื่อใช้ในปริมาณเท่าเดิม จะเริ่มมีประสิทธิภาพที่น้อยลง

รูปภาพแสดงคุณลักษณะหลักของความทนต่อ CBD
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับความทนต่อ CBD

แต่กับสาร Cannabidiol อาจไม่ได้มีผลแบบเดียวกัน เพราะ CBD ไม่ทำปฏิกิริยากับตัวรับในลักษณะเดียวกับ THC กลไกต่าง ๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิธีที่ CBD มีส่วนร่วมกับ ECS แต่ไม่ได้ผ่าน CB1 โดยตรง

CBD อาจเกิดปฏิกิริยาได้ 60 รูปแบบภายในร่างกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า มันสามารถชะลอ(ยับยั้ง) กระบวนการดึงกลับ (Reuptake) ซึ่งจะทำให้ระดับของ Endocannabinoids ในร่างกายสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถยับยั้งกระบวนการสลาย (Breakdown) ซึ่งทำให้มีสารตัวนี้ในกระแสเลือดที่มากขึ้น

สิ่งที่เรารู้ก็คือ การใช้ CBD เป็นประจำไม่ได้ทำให้เกิดการทนต่อยา แต่มันก็ไม่ได้เป็นแบบนี้กับทุกคน อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูว่าการใช้ CBD ในระยะยาว และดูว่าร่างกายจะมีการทนต่อสารในกัญชาหรือไม่

การทนแบบผกผันของ CBD

เมื่อระยะเวลาผ่านไป หลายคนระบุเกี่ยวกับแนวโน้มที่เรียกว่าความทนทานหรือการทนต่อการเปลี่ยนแปลง โดยที่ร่างกายจะไวต่อผลกระทบของ CBD มากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แม้ว่าจะใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าก็ตาม ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ของร่างกายจะปรับเปลี่ยนจนทำให้เกิดการตอบสนองต่อสารประกอบเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ และจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบการกล่าวอ้างนี้ต่อไป

และสำหรับผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ เช่น น้ำมัน CBD ผลที่เกิดขึ้นเช่นนี้ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ายินดี เนื่องจาก

  • ความต้องการ CBD ในปริมาณที่น้อยลง เพื่อให้ได้ผลการรักษาตามที่ต้องการเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษารูปแบบต่าง ๆ เช่น การลดความเจ็บปวด, การลดความวิตกกังวล หรือต้านการอักเสบ
  • ผู้ใช้ CBD ในระยะยาว อาจได้รับผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ การตอบสนองต่อ CBD ของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน เนื่องจากทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และร่างกายของพวกเขาก็ย่อมตอบสนองต่อ CBD แตกต่างกันไป

การทน CBD กับการเสพติด

ร่างกาย0tสามารถจัดการกับ CBD ได้ดีขึ้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเสพติดมัน

สาร Cannabidiol ไม่ทำให้เกิดการเสพติด และไม่มีคุณสมบัติทางจิตเช่นเดียวกับ THC งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า CBD มีโอกาสเสพติดได้ต่ำ และการทนต่อ CBD เป็นผลมาจากการปรับตัวต่อสารประกอบตามธรรมชาติของร่างกาย มากกว่าความจำเป็นที่ต้องเพิ่มขนาดของยา

ผู้ใช้ CBD เป็นประจำอาจพบว่า มีการตอบสนองที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้จำเป็นต้องปรับขนาดยา โดยทั่วไปแล้ว ความทนทานนี้สามารถจัดการได้ และการเลิกใช้ CBD จะไม่นำไปสู่อาการถอน ซึ่งเกี่ยวโยงกับอาการเสพติด

หลีกเลี่ยงการทนต่อ CBD มีวิธีใดบ้าง

หากคุณคิดว่าร่างกายของคุณเริ่มชินกับ CBD มากเกินไปแล้ว คุณอาจเป็นคนกลุ่มน้อยที่ร่างกายมีความทนต่อ CBD และควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้:

  • หยุดใช้ชั่วคราว: สิ่งที่ดีที่สุดที่ต้องทำ ก็คือ การหยุดใช้ CBD สัก 2-3 วัน แล้วดูว่ามีผลลัพธ์ว่ามีการตอบสนองอย่างไร แต่เนื่องจาก CBD ไม่ใช่สารเสพติด ก็จะไม่เกิดอาการถอนเหมือน THC ดังนั้น ลองให้เวลาร่างกายช่วยรีเซตร่างกาย ก่อนที่จะเริ่มใหม่ใช้มันอีกครั้ง
  • ลดปริมาณอย่างช้า ๆ: วิธีนี้ให้คุณพยายามลดการใช้ CBD ทีละน้อย ๆ เช่น หากคุณเคยกิน CBD 50 มก. ต่อวัน ให้ลดเหลือ 45 มก. เป็นเวลา 2 วัน จากนั้นลดเหลือ 40 มก. เป็นเวลา 2 วัน และค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงปริมาณที่ต้องการ
  • ปรึกษาแพทย์: ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีการปรับปริมาณการใช้ เพื่อให้ร่างกายคงรู้สึกถึงผลกระทบต่อไป
  • ลองใช้ตัวเลือกอื่น: คุณสามารถใช้ CBD ได้หลายวิธี ทั้งน้ำมัน, อาหารผสมกัญชา, กัมมี่, ดอกกัญชาและยาทา ซึ่งแต่ละวิธีจะใช้เวลาในการสร้างเอฟเฟกต์ในตัวมันเอง และใช้ความเข้มข้นที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้น อย่าลืมทดลองทั้งหมดเพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุด

คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสำคัญ

ในหลายกรณี การใช้ผลิตภัณฑ์แล้วไม่เกิดประสิทธิภาพที่ดี มักจะโยนความผิดไปที่ร่างกายว่ากำลังทนต่อ CBD แต่ความจริงแล้ว CBD ถือเป็นวิธีการรักษาตามธรรมชาติ การสกัดความเข้มข้นถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ซึ่งนำไปสู่มาตรฐานของคุณภาพสินค้าในตลาดที่แตกต่างกัน

การเลือกผลิตภัณฑ์ CBD คุณภาพสูง สามารถช่วยให้คุณสัมผัสกับผลกระทบและคุณประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลือกที่ด้อยกว่า

หากใช้น้ำมัน CBD จากยี่ห้อ A ไม่ได้ผล ให้ลองใช้บริษัทอื่น ๆ คุณควรลองหลาย ๆ ขนาด และหลาย ๆ สูตร เพราะสิ่งที่ได้ผลกับคนอื่น อาจไม่ได้ผลสำหรับคุณเสมอไป

ผลข้างเคียงของ Cannabidiol: สิ่งที่ควรรู้เมื่อใช้ CBD เป็นเวลานาน

โดยทั่วไปแล้ว CBD อาจมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง แต่โดยส่วนใหญ่ก็ไม่รุนแรงเท่า THC และมีอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้น

ผลข้างเคียงทั่วไปของ CBD เช่น:

  • ง่วงนอน
  • ปากแห้ง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ท้องเสีย
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง
  • ความอยากอาหารเปลี่ยนไป

โดยทั่วไปแล้ว ผลกระทบเหล่านี้จะไม่รุนแรง และบรรเทาลงเมื่อร่างกายปรับตัวได้

CBD อาจส่งผลเสียต่อตับได้เช่นกัน โดยสัญญาณของความเสียหายที่ตับ ถือเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะยาว
การศึกษาพบว่า การใช้ CBD ในปริมาณสูง อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเอนไซม์ในตับ เมื่อ CBD ถูกเผาผลาญโดยตับ จึงอาจขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการกำจัดยาได้

ซึ่งหมายความว่า หากคุณรับประทานยาแก้ปวดหรือยานอนหลับ สาร CBD สามารถเพิ่มหรือลดความเข้มข้นในกระแสเลือดได้ ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่ผลเสียในอนาคต

ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในตับ ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับการมีปริมาณ CBD ในร่างกายสูง ซึ่งโดยปกติแล้ว จะสูงกว่าปริมาณที่แนะนำ ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ CBD

บทสรุป

แม้ว่า CBD ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาเรื่องอาการทนต่อสารกัญชา แต่ข้อเท็จจริงก็ยังไม่แน่ชัด ผู้ใช้ระยะยาวอาจคุ้นชินกับผลของ CBD มากขึ้น จึงต้องการในปริมาณที่สูงขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องสังเกตผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อมันมากเกินไป ซึ่งนำไปสู่อาการทนแบบผกผัน หรือการมีความต้องการ CBD ที่น้อยลง เพื่อผลลัพธ์เดียวกัน

เนื่องจาก CBD ไม่ใช่สารเสพติดและค่อนข้างปลอดภัย จึงไม่ยากที่จะลดผลของอาการทนต่อ CBD ซึ่งคุณสามารถหยุดใช้สาร CBD หรือลองใช้ผลิตภัณฑ์อื่นทดแทนได้ ไม่ว่าจะเป็น การปรับขนาดยา, เปลี่ยนยี่ห้อ, เปลี่ยนส่วนผสม หรือปรับวิธีการใช้งาน