กัญชงแบบเข้าใจง่าย: ความหมายและข้อแตกต่างจากกัญชา
Table of Contents
ใครหลายคนในไทยเชื่อว่ากัญชงกับกัญชาคือสิ่งเดียวกัน ถ้าพูดตามทฤษฎีแล้วถือว่าถูกต้องเพราะพืชทั้งสองมาจากสปีชีส์แคนนาบิสซาติวา (cannabis sativa) เหมือนกัน แต่จริง ๆ แล้วกัญชงกับกัญชามีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยกัญชาไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ส่วนกัญชาใช้แล้วจะทำให้เกิดความมึนเมา
จริง ๆ แล้วกัญชงคือพืชคุณภาพที่มีความสามารถรอบด้าน มนุษย์ปลูกกัญชงเพื่อใช้งานในหลากหลายวัตถุประสงค์มาหลายพันปีแล้ว แม้แต่ในไทยเองกัญชงก็มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเพราะคนไทยใช้เป็นยา ใช้ทำเชือก เส้นใย อาหาร จนไปถึงเสื้อผ้า
Weed Review ขออธิบายเกี่ยวกับกัญชงในภาพรวม รวมถึงความหมายและสาเหตุที่ทำให้พืชชนิดนี้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในอุตสาหกรรมกัญชาไทย
กัญชงคืออะไร
พูดง่ายๆ ก็คือ กัญชง คือ กัญชา sativa หลากหลายสายพันธุ์ซึ่งไม่มีสารเตตระไฮโดรแคนนาบินอล (THC) เกินปริมาณที่กำหนดโดยดูจากน้ำหนักกัญชาแห้ง
ในโลกตะวันตก ปริมาณนี้ถูกจำกัดไว้ที่ 0.3% ในขณะที่ในประเทศไทย กัญชงหมายถึงพืชกัญชา sativa ที่มี THC น้อยกว่า 1% โดยคำนวณจากน้ำหนักแห้งในใบและช่อดอก
ตัวเลขมหัศจรรย์ไม่ว่าจะ 0.3% หรือ 1% บางคนอาจมองว่าเป็นการคาดคะเนเอา จะแยกกัญชงออกจากต้นกัญชา/วัชพืช/ต้นกัญชาที่ทำให้คุณมึนเมา อาจเป็นเรื่องของความหมายทางกฎหมายในการควบคุมส่วนออกฤทธิ์ทางจิตของกัญชาที่ผู้นิยมใช้กัน
คุณสมบัติของกัญชงมีอะไรบ้าง?
กัญชงไม่เหมือนกับพืชชนิดอื่นตรงที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก รายการดังต่อไปนี้คือคุณสมบัติสำคัญบางประการของกัญชงที่ทำให้สมุนไพรธรรมชาติชนิดนี้มีคุณค่า
- กัญชงโตไวมาก ใช้เวลาเพียงสามถึงสี่เดือนเท่านั้นเพื่อให้โตเต็มไว
- ลำต้นเล็กและสูง สามารถสูงได้ถึง 4 เมตร
- สามารถปลูกได้โดยใช้ยาฆ่าแมลงและสารกำจัดวัชพืชเพียงเล็กน้อย ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าพืชชนิดอื่น
- กัญชงไม่ทำให้มึนเมา เนื่องจากมี THC ปริมาณต่ำ
- Hemp มีสาร Cannabidiol (CBD) ในระดับสูง สาร CBD มีลักษณะคล้ายกับ THC แต่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและมีสรรพคุณด้านสุขภาพมากมาย พืชกัญชงอุดมไปด้วย CBD ทำให้เหมาะสำหรับการนำมาทำน้ำมัน CBD
- เมล็ดกัญชงมีโภชนาการสูง อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน กรดไขมันจำเป็น และแร่ธาตุ ด้วยเหตุนี้กัญชงจึงถูกใช้เป็นแหล่งอาหารและยาแผนโบราณ
- พืชกัญชงใช้ทำสิ่งทอและวัสดุก่อสร้างได้
- ปลูกง่ายและไม่ต้องให้การดูแลมาก ปรับตัวได้กับหลากหลายสถานการณ์ ทำให้ชุมชนท้องถิ่นนำกัญชงมาใช้เป็นอาหารและวัตถุดิบ
สภาพการเติบโตของกัญชง
หนึ่งเหตุผลที่ทำให้กัญชงโด่งดังในไทยคือสภาพอากาศ
กัญชงเติบโตได้ดีในพื้นที่อุณหภูมิปานกลาง มีปริมาณน้ำฝนอยู่ในระดับกลางถึงสูง และต้องการแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
ภูมิศาสตร์ของประเทศไทยคือสิ่งที่ทำให้พืชชนิดนี้สามารถเติบโตได้เป็นอย่างดี นี่เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้สายพันธุ์แลนด์เรซในไทยโด่งดังไปทั่วโลกอีกด้วย
การใช้งานกัญชง
มีการคาดการณ์ว่าตลาดกัญชงระดับอุตสาหกรรมจะสร้างเม็ดเงินได้มากถึง 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2027 คุณคงพอจะเดาได้แล้วว่ากัญชงสามารถใช้งานได้หลากหลายเพียงใด โดยรูปแบบการใช้งานที่นิยมมีดังต่อไปนี้
- สิ่งทอ: เส้นใยกัญชงมีความทนทาน ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ทำเชือก เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เนื้อผ้า พรม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อนำไปขายได้
- กระดาษ: เส้นใยกัญชงสามารถนำมาใช้ทำกระดาษได้เช่นกัน กระดาษที่ทำจากกัญชงจะมีความยั่งยืน เป็นธรรมชาติ และออร์แกนิกมากกว่ากระดาษทั่วไปที่ทำจากต้นไม้
- เชื้อเพลิงชีวภาพ: น้ำมันในเมล็ดและก้านของกัญชงคือแหล่งเชื้อเพลิงชีวภาพชั้นดี
- วัสดุก่อสร้าง: เฮมพ์กรีต (Hempcrete) คือบล็อกกัญชงที่มีลักษณะคล้ายคอนกรีตที่กำลังเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมก่อสร้าง นอกจากนี้กัญชงยังสามารถใช้ทำสิ่งอื่น ๆ ได้อีก เช่น ใยไม้อัด ฉนวน พลาสเตอร์ สารเคลือบเงา เส้นใย เชือก และบล็อกไม้ เป็นต้น
- ชิ้นส่วนยานยนต์: วัสดุแผงคอมโพสิตในรถยนต์หลายคันใช้กัญชงเป็นวัตถุดิบ สิ่งนี้เรียกว่าพลาสติกชีวภาพที่ใช้กัญชงเป็นวัตถุดิบหลักของพลาสติก ทำให้พลาสติกย่อยสลายได้และทนทาน
- ผลิตภัณฑ์อาหาร: กัญชงสามารถใช้ทำอาหารต่าง ๆ ที่อุดมไปด้วยโภชนาการและโปรตีน เช่น เมล็ดกัญชง โปรตีนบาร์ ผงโปรตีน นมกัญชง แป้งทดแทน ซอส เป็นต้น
- อาหารเสริม: น้ำมันเมล็ดกัญชงและน้ำมัน CBD ที่มาจากต้นกัญชงมีสรรพคุณในการบำบัด ส่งผลให้สุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้น
- ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม: กัญชงขึ้นชื่อเรื่องการเติมความชุ่มชื้นและบำรุงผิว น้ำมันเมล็ดกัญชงมักถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในแชมพู ครีม โลชั่น เจลอาบน้ำ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอื่นๆ
กัญชงในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์แบบรวบรัด
พืชแคนนาบิสในประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมาก โดยพืชชนิดนี้ไทยรับเข้ามาจากอินเดียและคนในประเทศเริ่มใช้ประโยชน์จากมันมาหลายศตวรรษเลยทีเดียว
เมื่อประมาณปี 1930 รัฐบาลไทยประกาศให้ผู้ใดที่ครอบครอง เพาะปลูก ขาย และใช้กัญชาจะถือว่ามีโทษ แต่ในตอนนั้นยังไม่มีการแบ่งแยกระหว่างกัญชงกับกัญชา ในสายตาของรัฐบาลทุกอย่างคือกัญชาทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การประกาศห้ามในครั้งนี้ไม่ได้มีผลบังคับใช้อย่างเคร่งครัด ทำให้วงการกัญชาใต้ดินยังคงอยู่ในประเทศไทยต่อไปจนกระทั่งเกิดสงครามเวียดนามที่มีทหารอเมริกันเข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพ ด้วยเหตุนี้เองเหล่าทหารกลุ่มนั้นจึงได้รู้จักกับกัญชาในรูปแบบของ “ไทยสติ๊ก” (Thai Stick)
ไทยสติ๊กเป็นที่นิยมมากในสมัยนั้นจนถูกลักลอบเข้าไปขายในอเมริกาและที่อื่น ๆ จำนวนมาก ส่งผลให้เกษตรกรชาวไทยที่ปลูกพืชชนิดนี้ในระดับกึ่งอุตสาหกรรมนำเงินเข้าประเทศมามากมาย
หลังจากสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง อเมริกาก็ได้เริ่มคุมเข้มเรื่องยาเสพติดและประเทศไทยเองก็เช่นกัน รัฐบาลไทยกลับมาปราบปรามกัญชาอีกครั้ง จนกระทั่งในช่วงปี 1980-1990 อุตสาหกรรมนี้ที่เคยเฟื่องฟูก็มาถึงจุดจบ
การคาดการณ์ถึงสถานการณ์ในอนาคต
ในปี 2016 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้อนุญาตให้เกษตรกรชาวไทยปลูกกัญชงได้ การเปิดทางในครั้งนี้เกิดขึ้นจากโครงการที่กินระยะเวลาร่วมสิบปีระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (HDRI) กับโครงการหลวง ที่เล็งเห็นถึงโอกาสในการปลูกและแปรรูปกัญชง โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นมาในปี 2005
อย่างไรก็ตาม ในสมัยนั้นสถานการณ์ก็ยังไม่ได้ดีเหมือนกับการทำให้กัญชาถูกกฎหมายในปัจจุบัน
ในอีกสองสามปีข้างหน้า อุตสาหกรรมกัญชาในไทยจะเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น การผลิต นำเข้า จำหน่าย และครอบครองกัญชาคือสิ่งที่ถูกกฎหมายเมื่อเดือนมกราคมปี 2021 แต่ในหลายพื้นที่ของประเทศมีการเพาะปลูกกัญชงกันอยู่แล้ว
รัฐบาลไทยตระหนักถึงโอกาสในการทำให้แคนนาบิสเป็นพืชทำเงิน โดยคาดว่ากัญชงและผลิตภัณฑ์กัญชงคือสิ่งที่จะดึงเงินเข้าประเทศได้มาก หน่วยงานต่าง ๆ จึงได้อนุมัติได้สามารถปลูกกัญชงที่ผ่านการรับรองจากอย.ได้ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ RPF1, RPF2, RPF3 และ RPF4 โดยสายพันธุ์ทั้งหมดนี้มี Cannabidiol (CBD) ในปริมาณที่ต่ำ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกัญชงไม่มี THC ในปริมาณสูงจนทำให้มึนเมา ทำให้มีแนวโน้มว่าจะปล่อยเป็นอิสระในอนาคตและสามารถใช้งานได้ในวงกว้าง แต่สำหรับกัญชาจะต้องสู้กันอีกมากเพื่อให้มีการยอมรับอย่างเต็มที่ ภายใน 2025 มีการคาดการณ์ว่าตลาดกัญชงในไทยจะมีมูลค่าอยู่ที่ 15.7 พันล้านบาท (470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยที่ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป
สรุป
ข้อแตกต่างเดียวระหว่างกัญชงกับกัญชาคือความเข้มข้น THC ตามน้ำหนักแห้ง ฝั่งตะวันตกมีขีดจำกัด THC อยู่ที่ 0.3% ในขณะที่ประเทศไทยจำกัดอยู่ที่ 1% หากพืชใดในวงศ์แคนนาบิสมี THC ต่ำกว่าขีดจำกัดนี้จะถือว่าเป็นกัญชง หากเกินค่านี้จะถือว่าเป็นกัญชา
ประเทศไทยกำลังอยู่ในยุคที่อุตสาหกรรมกัญชงรุ่งเรืองอันเนื่องมาจากปัจจัยหนุนมากมาย ได้แก่ กฎหมายแคนนาบิที่เปิดโอกาสมากขึ้น สภาพอากาศประเทศไทยที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก และการที่กัญชงมีปริมาณสาร THC ไม่มาก