กัญชาสำหรับอาการปวด: วิธีใช้ CBD และ THC เพื่อบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
Table of Contents
ปัญหาด้านการปวดคือสิ่งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนหันมาใช้กัญชาเพื่อบรรเทาอาการปวด
อาการปวดเรื้อรังคือสิ่งที่พบได้บ่อยในสังคมและมีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน มีการศึกษาหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าประชากร 30% มีความทุกข์ทรมานจากอาการปวดหลังส่วนล่าง อีกการศึกษาหนึ่งพิจารณาอาการปวดในภาพรวมและพบว่ามีคนไทยประมาณ 20% ที่มีอาการปวดแบบเฉียบพลัน
ขณะนี้กัญชาทางการแพทย์เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายในประเทศไทย กัญชาจึงกลายเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการจัดการกับความเจ็บปวด และในบทความนี้เราจะมาแนะนำประโยชน์ของกัญชาเพื่อช่วยให้มือใหม่เริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง
กัญชาเพื่อบรรเทาอาการปวด: ความเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของกัญชาต่อความเจ็บปวด ทำให้เกิดผลการวิจัยที่หลากหลายซึ่งสาเหตุหลักมาจากธรรมชาติของต้นกัญชาที่มีความซับซ้อน
การทดลองทางคลินิกและการศึกษาต่าง ๆ ก็ยังตรวจสอบกันอยู่ว่ากัญชาทางการแพทย์สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้จริงหรือไม่
ส่วนต่อไปนี้เป็นข้อสรุปผลจากการศึกษาซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีหลักฐานทางคลินิกเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้ระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว
ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (ECS)
แคนนาบินอยด์ เช่น CBD และ THC มีปฏิกิริยากับระบบแอนโดคานาบินอยด์ (ECS) ของร่างกาย ซึ่ง ECS มีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการทางสรีรววิทยาในด้านต่าง ๆ รวมถึงความรู้สึกเจ็บปวดและการอักเสบ การเสริม ECS ด้วยแคนนาบินอยด์นั้นเป็นที่เชื่อกันว่าจะสามารถช่วยจัดการความเจ็บปวดและการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การใช้ CBD และ THC ในการบรรเทาความเจ็บปวด
ทั้ง CBD และ THC มีศักยภาพในการช่วยบรรเทาอาการปวดเรื้อรังของผู้ป่วยได้ เพราะมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ
CBD ไม่ได้ออกฤทธิ์ทางจิตจึงทำให้เป็นที่ต้องการของหลาย ๆ คน เนื่องจากมีทำให้มึนเมา จากการศึกษาพบว่า CBD มีประสิทธิภาพในการจัดการกับความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดจากการผ่าตัด, ความเจ็บปวดจากโรคระบบประสาทและการอักเสบ
ในทางกลับกันก็พบว่า THC มีประสิทธิภาพในการจัดการกับอาการปวดรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับสภาวะต่าง ๆ อาทิ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, โรคมะเร็ง และอาการปวดเมื่อยตามเส้นประสาท ทั้งนี้ ด้วยคุณสมบัติของ THC อาจต้องมีการจำกัดการใช้ในบางกรณี
อาการปวดเรื้อรัง
ในปี 2018 ได้มีการรีวิวข้อมูลในวารสาร Frontiers in Pharmacology พบว่า แคนนาบินอยด์สามารถรักษาอาการปวดเรื้อรังประเภทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงอาการปวดเส้นประสาท, อาการปวดจากการอักเสบ และอาการปวดในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia), ไมเกรน และโรคข้ออักเสบ เป็นต้น โดยผู้ป่วยได้ออกมาระบุว่าอาการปวดเรื้อรังลดลง คุณภาพการนอนดีขึ้น และคุณภาพชีวิตดีขึ้น
อาการปวดตามระบบประสาท
ในปี 2018 ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลใน Cochrane Database of Systematic Reviews (CDSR) โดยพบว่าแคนนาบินอยด์รวมถึง THC และ CBD มีคุณสมบัติในการรักษาอาการปวดเส้นประสาทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ อาทิ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และโรคเส้นประสาทที่เป็นผลมาจากโรคเบาหวาน
อาการปวดข้ออักเสบ
ในปี 2016 ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งตีพิมพ์ใน Arthritis Care & Research โดยพบว่าแคนนาบินอยด์รวมถึง THC และ CBD มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับรูมาติก เช่น โรคข้ออักเสบ จากสิ่งนี้เองยิ่งเป็นการสนับสนุนว่ากัญชาสามารถใช้จัดการกับอาการปวดข้ออักเสบได้
อาการปวดจากมะเร็ง
ในปี 2020 มีการรีวิวข้อมูลใน Journal of Pain Research โดยระบุว่า ยาที่มีส่วนประกอบของกัญชา โดยเฉพาะยาที่มี THC อาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับยาหลอก นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่ากัญชาอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้ผลในการจัดการกับอาการปวดที่เกิดจากมะเร็ง
แคนนาบินอยด์และเทอร์ปีน
จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อนำแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) และเทอร์ปีน (Terpenes) มาใช้ร่วมกันเรียกว่า “สารประกอบกัญชาหลายชนิดมาประกอบกัน ช่วยให้ประสิทธิภาพกัญชาดีขึ้น” สามารถบรรเทาอาการปวดได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้แคนนาบินอยด์หลายชนิด ขณะที่เทอร์ปีนเป็นสารประกอบของน้ำมันหอมระเหยที่พบในกัญชาสามารถทำปฏิกิริยากับ ECS และตัวรับของประสาทสัมผัสอื่น ๆ ในร่างกาย โดยรวมแล้วทำให้ประสิทธิภาพของยานั้นดีขึ้น
ทางเลือกอื่นแทนฝิ่น
การใช้กัญชาเพื่อบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง สามารถช่วยลดความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มฝิ่นได้ในบางกรณี ซึ่งก็หมายความว่าเราอาจไม่ต้องพึ่งพายาแก้ปวดกลุ่มนี้มากนักในการจัดการกับความเจ็บปวด และยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการติดฝิ่นหรือการใช้ยาเกินขนาดได้
ในขณะที่การวิจัยเกี่ยวกับการใช้กัญชา เพื่อรักษาอาการปวดนั้นมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีอีกหลายด้านที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม สิ่งสำคัญ คือ ก่อนการใช้กัญชาเพื่อการรักษาควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
กัญชาเพื่อจัดการความเจ็บปวด: ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์มีหลายรูปแบบ ทำให้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสมที่สุด ซึ่งในรายละเอียดด้านล่างนี้เป็นการสรุปผลิตภัณฑ์กัญชาต่าง ๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยาทาผสมกัญชาใช้เฉพาะที่
ยาผสมกัญชาที่ใช้เฉพาะที่ อาทิ ครีม, บาล์ม และยาทาผิว สามารถทาผิวหนังได้โดยตรงเพื่อบรรเทาอาการปวดเฉพาะที่ ผิวหนังจะดูดซึมและมุ่งรักษาเฉพาะจุดโดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทจนถึงขั้นเมา ยาทาเฉพาะที่มีสาร CBD, THC หรือทั้งสองอย่างรวมกัน สามารถแก้ไขอาการปวดข้อ, ปวดกล้ามเนื้อ และอาการอักเสบได้
ทิงเจอร์และน้ำมัน
ทิงเจอร์หรือน้ำมันกัญชาสามารถนำมาอมใต้ลิ้น, ผสมกับอาหารและเครื่องดื่ม หรือทาบนผิวหนังก็ได้ ช่วยให้สามารถกำหนดขนาดยาได้อย่างแม่นยำและให้ผลที่รวดเร็ว มีจำหน่ายแล้วในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึง CBD-only (อาทิ SEYA 2,000 มก. หรือ Midnight 2,000 มก.) และ THC-only และใช้อัตราส่วน CBD:THC ที่เท่ากัน เพื่อจะตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลและความต้องการจัดการกับความเจ็บปวดได้
อาหารผสมกัญชา
อาหารผสมกัญชา ได้แก่ เยลลี่ THC/CBD, ช็อกโกแลต และบราวนี่ เป็นต้น นับเป็นวิธีในการใช้กัญชาที่อร่อยและง่ายต่อการบริโภค เพื่อบรรเทาอาการปวดซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาค่อนข้างนานในการออกฤทธิ์หากเทียบกับวิธีอื่น ๆ แต่มีข้อดีคือ ให้ระยะเวลาในการบรรเทาที่นานกว่า สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ ต้องเริ่มด้วยขนาดยาที่น้อย ๆ ก่อน และค่อย ๆ เพิ่มขนาดอย่างเหมาะสมที่สุด เพื่อให้ได้ผลการรักษาความเจ็บปวดอย่างมีประสิทธิภาพ
ดอกกัญชา
ดอกกัญชาเป็นวิธีดั้งเดิมที่สุดในการบริโภค เพื่อบรรเทาปวด สามารถใช้ในรูปแบบสูบหรือสูดดมไอระเหยได้ซึ่งก็ช่วยบรรเทาอาการได้ทันที ในส่วนของดอกตูมมีหลายสายพันธุ์ แต่ละชนิดจะมีแคนนาบินอยด์และเทอร์ปีนส์ที่ต่างกัน ตอบสนองความต้องการในการจัดการความเจ็บปวดเฉพาะที่ที่ต่างกันไปด้วย สายพันธุ์ที่นิยมใช้บบรรเทาอาการปวด อาทิ ACDC, Harlequin และ Blue Dream
กัญชากับความเจ็บปวด: สิ่งที่ควรคำนึงถึง
การใช้กัญชา เพื่อบรรเทาอาการปวด และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงยังมีสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึง ดังนี้
ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
ก่อนจะใช้กัญชาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้มีความรู้เกี่ยวกับกัญชาก่อน เพราะแพทย์จะสามารถช่วยเลือกผลิตภัณฑ์, ปริมาณ และวิธีการบริโภคที่เหมาะสมตามความต้องการเฉพาะในแต่ละบุคคลได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเจ็บปวดหรือการใช้ภายใต้เงื่อนไขทางการแพทย์ต่าง ๆ
เริ่มจากขนาดที่ต่ำ
สิ่งที่เราเน้นเสมอและสำคัญคือ เริ่มจากขนาดที่ต่ำก่อน และค่อย ๆ เพิ่มจนกระทั่งพบปริมาณที่เหมาะสมที่สุดที่ช่วยบรรเทาอาการได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ การเริ่มขนาดต่ำจะช่วยลดความเสี่ยงของอาการที่ไม่พึงประสงค์ได้ และช่วยให้มั่นใจได้ว่าการใช้ยานั้นมีปริสิทธิภาพสูงสุด
หมั่นตรวจสอบการตอบสนองของร่างกาย
หมั่นตรวจสอบการตอบสนองของร่างกายหลังการใช้กัญชารวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง, ความเจ็บปวด, ระยะเวลา และความถี่ เพราะข้อมูลเหล่านี้จะทำให้แพทย์และคุณสามารถประเมินประสิทธิผลของสูตรกัญชาที่ได้รับ และปรับเปลี่ยนหากจำเป็น
แสวงหากัญชาสายพันธุ์อื่นที่ยังไม่เคยลอง
สายพันธุ์และผลิตภัณฑ์กัญชามีความแตกต่างกันมากในด้านองค์ประกอบทางเคมี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในจัดการกับความเจ็บปวด นำสายพันธุ์ที่ต่างกันมาทดลอง ในอัตราส่วน CBD: THC ที่สมดุล เพื่อค้นหาส่วนผสมที่เหมาะกับคุณ
ผลกระทบด้านลบ
หากจะใช้กัญชาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้เลย คือ ต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และควรมีแนวทางการป้องกันที่เหมาะสม
แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วกัญชาถือว่าปลอดภัยและได้รับการยอมรับมาเป็นอย่างดี แต่ก็สามารถเกิดผลข้างเคียงกับบางคนได้:
- วิงเวียนศีรษะ
- ปากแห้ง
- อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
- อ่อนเพลีย
- ไม่ค่อยอยากอาหาร
- จำอะไรไม่ค่อยได้ชั่วคราว
การผสมกัญชากับยา
การเสพกัญชาร่วมกับยาอื่น ๆ บางครั้งอาจส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างกันได้ ซึ่งจะทำให้ยาที่คุณทานเข้าไปไม่เกิดผลทางด้านการรักษาแต่อย่างใด (หรือมีประสิทธิภาพสูงเกินไป) อาจนำไปสู่ผลข้างเคียงได้
หากต้องการใช้กัญชาเพื่อการรักษาความเจ็บปวด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งแพทย์ก่อนหากว่าคุณได้ใช้ยาหรืออาหารเสริมผสมกัญชามาแล้วก่อนหน้า ไม่ว่าจะมาจากแพทย์ที่อื่นสั่งให้หรือซื้อมาเองจากเคาน์เตอร์ก็ตาม เพื่อช่วยให้แพทย์คำนวณการใช้รวมถึงการปรับเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสมขึ้น
การบรรเทาความเจ็บปวดทางเลือกแทนกัญชา
หากคุณกำลังมองหาทางเลือกอื่นในการรักษาความเจ็บปวดจากกัญชาอยู่ซึ่งมีหลายทาง เรามีบางแนวทางมาแนะนำ อาทิ:
- การฝังเข็ม
- การนวดบำบัด
- กายภาพบำบัด
- การบำบัดด้วยการจัดกระดูกสันหลัง
- โยคะ หรือ ไท่เก๊ก
- การทำสมาธิและการเจริญสติ
- การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น
- ยาแก้ปวดที่ขายตามเคาน์เตอร์
- ซื้อยาตามใบสั่งแพทย์
บทสรุป
สรปุแล้วกัญชาอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง ในขณะที่งานวิจัยก็ยังคงมีอยู่ การศึกษาพบว่าทั้ง CBD และ THC สามารถจัดการอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อใช้ควบคู่ไปกับการรักษาด้านอื่น ๆ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต กัญชานับเป็นการรักษาในรูปแบบธรรมชาติบำบัดที่มีประสิทธิภาพ เหมาะกับผู้ที่ต้องต่อสู้กับความเจ็บปวด สิ่งสำคัญ คือ ต้องแจ้งให้ผู้ที่ให้บริการด้านสุขภาพของคุณทราบก่อนเริ่มการรักษาใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่ากัญชาเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและเหมาะสมเฉพาะบุคคล
คำถามที่พบบ่อย
-
ฉันจะใช้น้ำมันกัญชากับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นได้อย่างไร?
สามารถใช้น้ำมันกัญชามาหยดใต้ลิ้น, ใส่ลงในอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือจะใช้ทาบริเวณที่มีอาการปวดแล้วนวดเบา ๆ การใช้ควบคู่กันทั้งหยดใต้ลิ้นและทานับเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ดีที่สุด
-
กัญชาสายพันธุ์ใดดีที่สุด สำหรับอาการเจ็บปวด?
ACDC, Harlequin, Cannatonic, Blue Dream, Granddaddy Purple และ Bubba Kush เป็นสายพันธุ์ยอดนิยมเหมาะสำหรับอาการปวดเรื้อรัง จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าการได้ลองใช้กัญชาสายพันธุ์ใหม่ ๆ จะทำให้คุณรู้ได้ว่าสายพันธุ์ไหนเหมาะกับคุณ
-
ฉันควรใช้กัญชาในปริมาณเท่าใดเพื่อบรรเทาอาการปวด?
ควรเริ่มปริมาณน้อย ๆ ก่อน และปรับปริมาณขึ้นตามความจำเป็น เนื่องจากปริมาณการใช้จะให้ผลที่ได้ต่างกันไปในแต่ละบุคคล, การดื้อยา รวมถึงวิธีการบริโภค แต่หากปรึกษาแพทย์ก็จะช่วยได้ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสมกับคุณ